ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมการนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ สู่การปฏิบัติในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและเพื่อเสนอแนะแนวคิดที่เหมาะสมกับกระบวนการนำนโยบายเกษตรอินทรีย์สู่การปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม อภิปรายกลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 40 คน มาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (เช่น ผู้กำหนดนโยบายระดับชาติ ผู้ปฏิบัตินโยบาย ตัวแทนผู้ประกอบการ นักวิชาการ และเกษตรกรอินทรีย์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอรรถาธิบาย และสถิติเชิงพรรณนา การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลใช้แบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ นโยบายและตัวชี้วัดที่ไม่ชัดเจน การจัดทำแผนและการดำเนินงานแบบแยกส่วน การขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความสัมพันธ์ที่แยกไม่ออกระหว่างการเมือง วัฒนธรรม และโครงสร้าง ข้อเสนอแนะ ได้แก่ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยการผลิตเกษตรอินทรีย์ การควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตร สร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรสู่เกษตรอินทรีย์ สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ตามระบบห่วงโซ่อุปทาน พัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลดีผลเสียของเกษตรอินทรีย์ การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการตรวจสอบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สนับสนุนการเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ จัดตั้งกองทุนเกษตรกรอินทรีย์ และสร้างการยอมรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ชนิตา พันธุ์มณี อารีย์ เชื้อเมืองพาน มนตรี สิงหะวาระ และพัชรินทร์ สุภาพันธ์. 2554. การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 77 หน้า.
ชนวน รัตนวราหะ. 2540. เกษตรกรรมไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ภายใต้ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช 10(2) : 48 - 56.
บูชิตา สังข์แก้ว. 2559. บทสำรวจวรรณกรรมสากลเพื่อการคิดทบทวน: การพัฒนาการกระจายอำนาจและนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 1 – 17.
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง และศุภพร ไทยภักดี. 2558. ทัศนคติของนักวิชาการเกษตรต่อเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกา แพงแสนวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 32(2): 70 - 79.
สุภางค์ จันทวานิช. 2556. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 177 หน้า
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2555. นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. เสมาธรรม, กรุงเทพฯ. 588 หน้า.
สมภพ โคตรวงษ์. 2554. ตัวแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เชิงนโยบาย. วารสารสมาคมส่งเสริมการวิจัย 2(3): 27 - 40.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ และอนุรัตน์ อนันทนาธร. 2555. นโยบายสาธารณะ. เวิลด์เทรด, กรุงเทพฯ. 326 หน้า.
อุทัย อันพิมพ์ และ นรินทร บุญพราหมณ์. 2555. เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านกับการจัดการความรู้เกษตรประณีต. วารสารการเกษตรราชภัฏ 11(1): 118 - 134.