สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์ใหม่: ชุมชนแห่งการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อนำเสนอความสำคัญของสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์ใหม่ ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา โดยระบบพี่เลี้ยงจะช่วยให้อาจารย์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับการจัดการเรียนการสอน วัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมการทำงานและเพื่อนร่วมงาน ได้คลายความสับสนและความวิตกกังวล พี่เลี้ยงจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการเป็นผู้สอนงานและแนะแนวทางการปฏิบัติงานและการวางตัวให้เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์ การสร้างสัมพันธภาพในบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยง ประกอบด้วยระยะเวลาแห่งการสร้างสัมพันธภาพ 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเริ่มสร้างสัมพันธภาพ 2) ระยะการเรียนรู้ 3) ระยะการแยกจากกัน และ4) ระยะการสร้างความผูกพันสู่มิตรภาพใหม่ การทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง คือ การสร้างสัมพันธภาพระหว่าง 2 บุคคล ซึ่งบุคคลหนึ่งจะได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ จากอีกบุคคลหนึ่งหรือได้รับการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นความรู้ใหม่หรือเป็นการเพิ่มเติมความรู้ที่มีอยู่ก่อน โดยปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสังคม
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
เกิดพงศ์ จิตรหลัง. 2558. การศึกษาอัตลักษณ์ครูดีในดวงใจ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 10(2): 45-58.
ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ. 2554. พัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร แนวทางในการพัฒนาบุคลากรระดับอุดมศึกษา. ศึกษาศาสตร์สาร 38(2): 136-141.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2553. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ, กรุงเทพฯ. 280 หน้า.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทิพย์. 2557. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท โรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 12(2): 123-134.
วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์, กรุงเทพฯ. 391 หน้า.
วิจารณ์ พานิช. 2556ก. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล, กรุงเทพฯ. 69 หน้า.
ไอบาร์ร่า เฮอร์มีเนีย. 2554. การสอนงาน ปรึกษาและดูแล (Coaching and Mentoring). (แปลและเรียบเรียงโดย กมลวรรณ รามเดชะ). พิมพ์ครั้งที่ 3. เอ็กซเปอร์เนท, กรุงเทพฯ. 222 หน้า.
Allen, T. D., L.T. Eby, M. Poteet, M. L. Lentz, E. and L. Lima. 2004. Career benefits associated with mentoring for protégé's: A meta-analysis. Journal of Applied Psychology 89(1): 127-136.
Byrne, M. W. and M. R. Keefe. 2002. Building Research Competence in Nursing Through Mentoring. Journal of Nursing Scholarship 34(4): 391-396.
Eby, L. T., T. D. Allen, S. C. Evans, T. Ng and D. DuBois. 2008. Does mentoring matter? A Multidisciplinary meta-analysis comparing mentored and non-mentored individuals. (Online). Available: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0001879107000401 (January 11, 2015).
Kram, K. E. 1988. Mentoring at Work: Development Relationships in Organizational Life. University Press of America, Inc., Lanham, Margland. 252 p.