ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรม รับเหมาก่อสร้างจังหวัดสงขลา

Main Article Content

เจษฎา นกน้อย
วรรณภรณ์ บริพัธ์
กัญญาภัทร บูหมิด
สาทินี สุวิทย์พันธ์ุวงศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างจังหวัดสงขลา
กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานต่างด้าว จำนวน 155 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-37 ปี จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา 4-6 ปี มีสถานภาพสมรส อยู่ในตำแหน่งคนงาน มีรายได้เฉลี่ย 4,000-9,200 บาทต่อเดือน และมีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ทำงานมากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์ มีจำนวนแรงงานในสถานประกอบการ 10-30 คน และมีจำนวนแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการน้อยกว่า 10 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานร้อยละ 20–40 และไม่เคยเปลี่ยนงาน แรงงานต่างด้าวมีค่าจ้างเฉลี่ย 9,796.97 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าจ้างแรงงานต่างด้าว คือ อายุ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน การทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ และจำนวนครั้งที่ออกจากงาน โดยสามารถอธิบายค่าจ้างแรงงานต่างด้าวได้ร้อยละ 54.8

Article Details

How to Cite
[1]
นกน้อย เ., บริพัธ์ ว., บูหมิด ก. และ สุวิทย์พันธ์ุวงศ ส. 2018. ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรม รับเหมาก่อสร้างจังหวัดสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 99–106.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. 2557. ก.แรงงาน เผยข้อมูลแรงงาน เดือนพฤศจิกายน 2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.mol.go.th/anonymouse/news/35096 (3 กรกฎาคม 2557).

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.

จิรพล ภูมิภักดี. 2546. การศึกษาความต้องการแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ. 105 หน้า.

จุฬาลักษณ์ นิ่มไชยนันท์ และรสริน โอสถานันต์กุล. 2556. การเลือกปฏิบัติทางด้านค่าจ้างระหว่างเพศในระดับภูมิภาคของตลาดแรงงานไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 17(1): 43-71.

เจษฎา นกน้อย. 2550. การจัดการผู้มีความสามารถสูง: ปัจจัยสำคัญสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ. Chulalongkorn Review 19(74): 43 - 57.

เจษฎา นกน้อย. 2551. การจ่ายค่าตอบแทนโดยอิงสมรรถนะ: ทางเลือกของการบริหารค่าตอบแทนในปัจจุบัน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช 21(2): 5 - 21.

เจษฎา นกน้อย. 2554. แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 338 หน้า.

ณัฐชานันท์ วงศ์มูลิทธิกร. 2552. การใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 122 หน้า.

ศรัณย์ ธิติลักษณ์. 2553. ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการจัดการ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/ corruption/20100719/343654.html (3 กรกฎาคม 2557).

สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา. 2557. รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสงขลา รายปี 2556 (มกราคม - ธันวาคม 2556). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://songkhla.mol.go.th/node/7698 (2 กรกฎาคม 2557).

เสาวณี จันทะพงษ์ และกรวิทย์ ดันศรี. 2554. การขาดแคลนแรงงานไทย: สภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Semina/MonthlyWorkshop/Documents/LabourShortage.pdf (3 กรกฎาคม 2557).

เสาวณี จันทะพงษ์ และปาณิศาร์ เจษฎาอรรถพล. 2558. อะไรเป็นปัจจัยกำหนดค่าจ้างของผู้ประกอบการไทย?. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635572 (13 มีนาคม 2559).

Gibson, K. and Graham ,J. 1986. Situating migrants in theory: The case of Filipino migrant contract construction workers. Capital and Class 10(2): 130-149.

Mincer, J. A. 1974. Schooling, Experience and Earnings. National Bureau of Economic Research, New York. 167 p.

Yamane, T. 1967. Statistics; An Introductory Analysis. 2nd ed. Harper and Row, New York. 919 p.