การเสริมสร้างศักยภาพแกนนำเกษตรกรในการพัฒนาระบบ เกษตรอินทรีย์ที่อิงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านในไร่ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพแกนนำเกษตรกรในการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ที่อิงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านในไร่ ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมโครงการสามารถเป็นแกนนำด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่อิงเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชน โดยสามารถสรุปแนวปฏิบัติที่ควรดำเนินการโดยยึดหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชฯ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสร้างความเข้าใจ (2) ขั้นวางแผน (3) ขั้นประชาสัมพันธ์ (4) ขั้นดำเนินงาน (5) ขั้นประเมินผล และ(6) ขั้นปรับปรุง/พัฒนา ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสามารถเป็นแนวทางการพัฒนาและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในชุมชน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยการวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1–5.
ธนภูมิ ธราวุธ ศิริชัย เพชรรักษ์ และกาสัก เต๊ะขันหมาก. 2560. รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการบริหารท้องถิ่น 10(1): 34-52.
นพวรรณ บุญธรรม สุรพล ดำรงกิตติกุล และชมชวน บุญระหงส์. 2558. สมาร์ท-วิลเลจ: ตัวแบบการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 249 - 259.
บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 319 - 330.
วราภรณ์ ปัญญาวดี ชพิกา สังขพิทักษ์ พรสิริ สืบพงษ์สังข์ น้้าเพ็ชร วินิจฉัยกุล วาสนา สุขกุล นุชจรี ปิมปาอุด และจิราภรณ์ ก้อนสุรินทร. 2559. เกษตรพหุภารกิจ: ทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 33(2): 61-73.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2557. บทบรรณาธิการ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): หน้า ก.
สำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง. 2554. ข้อมูลพื้นฐานทางการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ranong.doae.go.th index-home.html (10 พฤษภาคม 2555)
อัตถ์ อัจฉริยมนตรี. 2560. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและแปลงสาธิตเพื่อผลิตพืชผักพื้นบ้านปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรชุมชนช่อแลอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 131-141.
Thai-PAN. 2559. รายงานผลการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ ครั้งที่ 2 2559. Thai-PAN, กรุงเทพฯ. 17 หน้า.