การประเมินกระบวนการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ภัทราจิตร แสงสว่าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือต้องการสะท้อนผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านตามหลัก PDCA ของหมู่บ้านศรีไคออกหมู่ 4 และหมู่บ้านสนามชัย ในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยผลคะแนนประเมินการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 84.0) เมื่อพิจารณาผลประเมินการปฏิบัติงานภายใต้หลักการบริหารจัดการ PDCA ของทั้ง 2 หมู่บ้าน พบว่า กระบวนการปฏิบัติงาน (D) มีคะแนนการประเมินมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการกองทุนฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ เพียงแต่ยังขาดขั้นตอนการตรวจสอบ และติดตามปัญหาในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านฯ สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามหลัก PDCA ของทั้ง 2 หมู่บ้านพบว่า กระบวนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ ที่แตกต่างกันมีผลจากการวางแผนการดำเนินงาน (P) ที่แตกต่างกัน (t-value = 2.905) สำหรับความรู้ของสมาชิกที่ต่างกัน ส่งผลต่อกระบวนการตรวจสอบและติดตาม (C) กระบวนการแก้ไขปรับปรุง (A) ของกองทุนหมู่บ้านฯ (F-value = 3.304 และ 5.920 ตามลำดับ) และเมื่อพิจารณารายได้ของสมาชิกที่ต่างกัน ส่งผลต่อกระบวนการวางแผน (P) และกระบวนการการแก้ไขปรับปรุง (A) ของกองทุนหมู่บ้านฯ (F-value = 4.698 และ 4.339 ตามลำดับ) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการที่สมาชิกมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวันจะทำให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนฯ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบว่า สมาชิกที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือได้เนื่องจากภาระของการหารายได้ของสมาชิก สำหรับประเด็นปัญหาภาพรวมของกองทุนฯ ยังคงมีเรื่องเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารทางบัญชีและโปรแกรมที่รัฐบาลนำมาใช้ ไม่เอื้อต่อศักยภาพของบุคลากร และเงื่อนไขการให้สินเชื่อของหมู่บ้าน

Article Details

How to Cite
[1]
แสงสว่าง ภ. 2018. การประเมินกระบวนการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 551–562.
บท
บทความวิจัย

References

นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ และ วัฒนี รัมมะพ้อ. 2560. กระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมร่วมสมัยไทยทรงดำ ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(2): 193 – 202.

พรทิพย์ ขุนวิเศษ กาสัก เต๊ะขันหมาก และ สมบูรณ์ สุขสำราญ. 2560. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 6(1): 241 – 255.

พรรณนุช ชัยปินชนะ. 2557. การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 37-48.

วรพิทย์ มีมาก. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 20(ฉบับเดือนมกราคม – ธันวาคม): 179-198.

ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. 2556. รายงานผลการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=105 (8 ธันวาคม 2558).
สายชล ปัญญชิต. 2555. การพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินชุมชน: ความรู้ และข้อเสนอสู่ความเป็นจริง. วารสารวิทยบริการ 23(3): 148-163.

สำราญ มีแจ้ง และ ไพศาล วรคำ. 2551. การพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 10(1): 15 – 32.

สุกานดา ผิวอ่อนดี อุษณีย์ เส็งพาณิช และธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ. 2558. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 9(2): 125 – 141.

สุภาชนก เหล็กกล้า และปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. 2556. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 39(2): 109 – 119.

Hinze, J. and M. Hallowel. 2013. Going Beyond Zero Using Safety Leading Indicators. Research Report. Construction Industry Institute, Austin, TX).

Ipek Sahra Ozguler. 2016. Increase the projects’ success rate through developing multi-cultural project management process. Procedia - Social and Behavioral Sciences 226: 236-242.