ทุนมนุษย์ของ เจนเนอเรชั่น ซี กับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ

Main Article Content

บังอร ศิริสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ข้อมูลด้านความพร้อมในการรับมือกับสภาวะสังคมดังกล่าวยังไม่เพียงพอ การวิจัยเพื่อศึกษาทุนมนุษย์ และความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนความสัมพันธ์ของทุนมนุษย์กับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมสูงอายุของกลุ่ม เจนเนอเรชั่น ซี (Generation Z) จึงมีความสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีสมมุติฐานว่า ทุนมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ  นักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 433 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายชั้นภูมิ รับการสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า ความพร้อมอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ทุนทางร่างกายอยู่ในระดับมาก ทุนทางปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง ทุนทางสังคมมิติความสัมพันธ์และเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายสังคมอยู่ในระดับมาก ทุนทางจิตใจและอารมณ์มิติทางบุคลิกภาพและการปรับตัวทางสังคมและจิตอาสาอยู่ในระดับมาก ความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ทัศนคติต่อสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษายอมรับสมมุติฐาน โดยที่ประสบการณ์ จิตอาสา และความฉลาดทางอารมณ์สัมพันธ์กับความพร้อม

Article Details

How to Cite
[1]
ศิริสัญลักษณ์ บ. 2018. ทุนมนุษย์ของ เจนเนอเรชั่น ซี กับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 36–45.
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วณิชรมณีย์ และ วนิดา ชนินทยุทธวงศ์. 2543. อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). สำนักพัฒนาสุขภาพ, นนทบุรี. 97 หน้า.

เกศราภรณ์ พลสีลา รัตพงษ์ สอนสุภาพ และ จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. 2558. ตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสาธารณสุข 10(1): 96-106.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. 2556. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. เอสเอส พลัส มีเดีย, กรุงเทพฯ. 117 หน้า.

คณะทันตแพทยศาสตร์. 2557. โครงการระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการบริการสุขภาพผู้สูงอายุสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ กิจกรรมพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการบริการสุขภาพผู้สูงอายุสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ. รายงานฉบับสมบูรณ์. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 35 หน้า.

ชมพูนุช พรหมภักดิ์. 2556. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สารวุฒิสภา 3(16): 1-19.

บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 319-330.

ปรีชา อุปโยคิน. 2553. ความสุขของผู้สูงอายุ. หน้า 31-36. ใน: เบญจพร สุธรรมชัย และนภัส แก้ววิเชียร (บก.). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (ฉบับปรับปรุง). ศิริชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

พระไพศาล วิสาโล. 2550. เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา. เครือข่ายพุทธิกา, กรุงเทพ ฯ. 57 หน้า.

เรืองไร อินซากอง และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2559. ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4 (1): 98-108.

วิทยา ชีวรุโณทัย. 2555. รักและผูกพัน เจนเนอเรชั่น แซด. ฐานการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 216 หน้า.

ศุภาพิชญ์โฟน โบร์แมนน์. 2553. ความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 4(2): 47-57.

สุชาดา ทวีสิทธิ์. 2553. บทบรรณาธิการ. หน้า 1-14. ใน: สุชาดา ทวีสิทธิ์ และ สวรัย บุณยมานนท์ (บก.). ประชากรและสังคม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 263 หน้า.

National Institute of Health. 2007. Why population aging matters: a global perspective. (Online). Available: http://www.cdc.gov/nchs/ data/
lifetables/life1890-1910.pdf (March 15, 2016)

Yamane, T. 1963. Statistic: An Introductory Analysis. 2nded. Harper and Row, New York. 919 p.