การเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งงานของชาวมอญบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ฐิตารีย์ โกมะ
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประเพณีการแต่งงานของชาวมอญบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีการแต่งงานของชาวมอญบ้านวังกะมีความเปลี่ยนแปลงไปทั้งในเรื่องคติความเชื่อและการปฏิบัติ คือ การให้ความสำคัญและความเคร่งครัดเกี่ยวกับการแต่งงานลดน้อยลง การลดหรือตัดทอนในรายละเอียดหรือขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การหมั้น ขบวนขันหมาก การถามตอบกันเป็นบทกลอน เป็นต้น และรับเอาแบบแผนการปฏิบัติใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสาน เช่น การนิมนต์พระสงฆ์ การจัดองค์ประกอบภายในงานพิธี การจัดงานเลี้ยงตอนกลางคืน เป็นต้น โดยมีปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญเข้ามากระทบ คือ การเลียนแบบ  สื่อมวลชน การศึกษา การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม  การประกอบอาชีพ ความเจริญเติบโตของระบบสาธารณูปโภคและการตลาด ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในเรื่องของเวลา ให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และทำให้ประเพณีการแต่งงานมีความสวยงามและความทันสมัยมากยิ่งขึ้น  แต่ค่านิยมที่ดีงามอาจเลือนหายได้เช่นกันถ้าไม่มีการรักษาไว้อย่างเพียงพอ

Article Details

How to Cite
[1]
โกมะ ฐ. และ วงศ์กิจรุ่งเรือง ช. 2018. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งงานของชาวมอญบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 24–35.
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ เส็งประชา. 2544. วิถีไทย. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 172 หน้า.

บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 319-330.

พงศ์พล รงรอง. 2558. การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง ในเมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว. วารสารวิถีสังคมมนุษย์ 3(1): 79-102.

พรรณิดา ขันธพัทธ์. 2558. การปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อและอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 23(41): 179-199.

พูลผล อรุณรักถาวร. 2547. ชนชาติมอญ. วชิราวุธานุสรณ์สาร 23(4): 55-61.

ยศ สันตสมบัติ. 2544. มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 292 หน้า.

ลักขณา ศกุนะสิงห์. 2556. ความเชื่อและประเพณี: เกิด แต่งงาน ตาย. พราวเพรส, กรุงเทพฯ. 262 หน้า.

วัชรกิติ วัชโรทัย ทรงวิทย์ แก้วศรี วิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร ประภาส สุระเสน อุไรวรรณ เลิศศรีสันทัด พงษ์ศักดิ์ ภู่อารีย์ กรองแก้ว บูรณะกิจ สร้อยระย้า เรืองวิเศษ สุโรจนา ศรีอักษร นิภา ธีรนิติ อรวรรณ ชมพูทิพย์ และ ชมศจี มีลาภ. 2537. 84 ปี หลวงพ่ออุตตมะ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 586 หน้า.

วาโย ตึกประโคน บุญส่ง ศรีเที่ยง สุวรรณ ศรีกู่กา สกาวเดือน ลานรอบ อุดร อินทร์เสนา จันทร์ทิพย์ นาสุข ทอง สวนงาม เพ็ญภักดิ์ สวนงาม สวัสดิ์ อินธิแสง สม แสงสีจันทร์ อำคา แสงงาม สงบ ใจสาหัส ชาญพัฒน์ ฤทธิบาล และเพชร สวนงาม. 2551. การแต่งงานภายในชุมชนและการปรับตัวเพื่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจท้องถิ่น: กรณีศึกษา บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 143 หน้า.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง พรทิพย์ อุศุภรัตน์ และประภาศรี ดำสอาด. 2542. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์มอญ. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 32 หน้า.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และ ประภาศรี ดำสอาด. 2545. ชุมชนมอญบ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี: ความเป็นมา และการปรับเปลี่ยน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 141 หน้า.

โสวัตรี ณ ถลาง กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้ และ สุดารัตน์ รอดบุญส่ง. 2556. มิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 39(1): 37-55.

อภินันท์ บัวหภักดี. 2553. เที่ยวสังขละ เล่าประวัติศาสตร์ ชนชาติมอญ. อนุสาร อสท 51(2): 76-88.

อารีวรรณ หัสดิน. 2558. สุนทรียะในประเพณีการแต่งงาน: การวิพากษ์แบบโพสต์โมเดิร์น. วารสารกระแสวัฒนธรรม 16(29): 60-72.