แผนวิสัยทัศน์ภูมิทัศน์พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางยี่ขันฝั่งเหนือ: การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างยั่งยืนในบริบทของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตามแนวทางการพัฒนาเมือง พร้อมทั้งฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ศึกษา คือ พื้นที่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านบางยี่ขัน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน 1) รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิจากพื้นที่ศึกษา และข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเสนอแผนวิสัยทัศน์ภูมิทัศน์ (landscape vision plan) และออกแบบพื้นที่ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า แผนวิสัยทัศน์ภูมิทัศน์ของแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือก ได้แก่ การอนุรักษ์คุณค่าเดิมในอดีต พัฒนาคุณภาพชีวิตคนปัจจุบัน และพัฒนาเศรษฐกิจสู่อนาคต
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
จักรสิน น้อยไร่ภูมิ. 2550. หลักการทางแนวคิดชุมชนเมืองที่พอเพียง. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ. 217 หน้า
ฑวัต อำไพพรรณ. 2550. การศึกษาแนวทางการออกแบบศูนย์เรียนรู้เนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ ชุมชน และศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ธนบุรี โดยการปรับประโยชน์ใช้สอยจากอาคารเก่าทรงคุณค่าและบูรณาการส่วนใหม่สถาปัตยกรรม. วิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง 5(3): 53-67
ณปภัช รัตนาวรรณกร และสุรินทร์ มหาวรรณ์. 2557. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 179-187.
ปราณี กล่ำส้ม. 2552. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ. เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. เมืองโบราณ, กรุงเทพฯ. 88 หน้า
วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน. 2555. “บางยี่ขัน” ถิ่นวังเจ้าลาว โรงสุราและโรงปูน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5034 (10 สิงหาคม 2558)
รัชด ชมภูนิช. 2558. ข้อทักท้วงต่อโครงการพัฒนาริมแม่น้ำเจ้าพระยา. นิตยสาร Builder 25(11): 66-67
สรรค์ เวสสุนทรเทพ และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล. 2557. แนวโน้มการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10(3): 143-163
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. คู่มือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ. 104 หน้า.
สุวิภา จำปาวัลย์ และธันยา พรหมบุรมย์. 2558 แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 5-16.
สุเจน กรรพฤทธิ์ และบุญกิจ สุทธิญาณานนท์. 2552 จากเวียงจันทน์ถึงบางกอกตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว. นิตยสารสารคดี ปีที่ 25 ฉบับที่ 291: 100-152
ศรีศักร วัลลิโภดม. 2555. พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสยามในลุ่มน้ำลำคลอง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://lek-prapai.org/watch.php?id=833 (10 สิงหาคม 2558)
อนุวัฒน์ การถัก และทรงยศ วีระทวีมาศ. 2558. ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิดและทิศทางการศึกษาวิจัย วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น 14(2): 1-10