ปัญหาโครงสร้างอำนาจ นโยบายและกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการป่าของ ประเทศไทย: กรณีศึกษาป่าทุ่งบางนกออก เขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง

Main Article Content

สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างอำนาจ นโยบาย และกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการป่าของประเทศไทย และเสนอทางเลือกการแก้ปัญหาจากนานาทรรศนะ โดยใช้สภาพปัญหาจากกรณีศึกษาการจัดการป่าร่วมกันในพื้นที่ป่าทุ่งบางนกออก ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียเพื่อหารูปแบบการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยใช้แนวทางของแบบจำลองเหมือนเพื่อนคู่คิด โดยมีผู้มีส่วนได้เสียทั้งจากชุมชน รัฐ และหน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยงานของกรมป่าไม้ (ด้านไฟป่า  การจัดการป่าชุมชน) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เป็นผู้ให้ข้อมูลและผู้เข้าร่วมกระบวนการประมาณ 200 คน มีการทำงาน 3 กระบวนการหลัก คือ 1) การศึกษาชุมชน ป่าเสม็ด และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและป่า โดยใช้ทั้งวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และการสำรวจ 2) การปฏิบัติการร่วมคิดและตัดสินใจ เพื่อหารูปแบบการจัดการที่ทุกฝ่ายยอมรับ โดยใช้เครื่องมือเกมบทบาทสมมติ 2 รอบ และการประชุมปฏิบัติการ 3 ครั้ง และ 3) การปฏิบัติการนำข้อเสนอไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยกระดับสู่นโยบายท้องถิ่นซึ่งใช้การปฏิบัติการ 8 ครั้ง ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระบวนการต่าง ๆ จะนำมาสู่การวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ปัญหานี้มีอยู่ในสังคมไทยมานานกว่า 5 ทศวรรษ และแม้ว่าปัจจุบันการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชนมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ในแง่กฎหมายและการกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ โดยแนวทางแก้ปัญหา คือ การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย การเสริมพลังชุมชน การจัดตั้งสถาบันการจัดการระดับชุมชน และการผลักดันกฎหมายรองรับสิทธิชุมชนที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ตลอดจนรัฐต้องจริงจังกับนโยบายการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น และเร่งสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงปรับโครงสร้างอำนาจ หน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้ซ้ำซ้อน

Article Details

How to Cite
[1]
เบ็ญเด็มอะหลี ส. 2018. ปัญหาโครงสร้างอำนาจ นโยบายและกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการป่าของ ประเทศไทย: กรณีศึกษาป่าทุ่งบางนกออก เขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 387–421.
บท
บทความวิจัย

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. 2550. มาตรฐานสนามแข่งขันและอุปกรณ์กีฬา ฟุตบอล. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://sports.buu.ac.th/
upload/file/upload299132a6812251114554a05c447b514e.pdf (14 กันยายน 2558).

กฤษฎา บุญชัย. 2554. ป่าชุมชนกับทิศทางปฏิรูปโครงสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นธรรม. หน้า 22-35. ใน: ระวี ถาวร และกฤษฎา บุญชัย (บก.) เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ “ป่าชุมชนไทยเพื่อการปฏิรูปที่เป็นธรรมและยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลง”. เครือข่ายป่าชุมชน แผนงานประเทศไทยและศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, กรุงเทพฯ.

โกวิทย์ พวงงาม. 2550. การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. วิญญูชน, กรุงเทพฯ. 467 หน้า.

กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2559. ป่าสงวนแห่งชาติ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://forestinfo.forest.go.th/
Content/file/manualanddoc/03_117.pdf(14 ธันวาคม 2559).

ไดมอนด์, จาเร็ด. 2552. ล่มสลาย Collapse ไขปริศนาความล่มจมของสังคมและอารยธรรม. แปลโดย อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ. ออฟเซ็ท ครีเอชั่น, กรุงเทพฯ. 797 หน้า.

ชล บุนนาค. 2554. แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.fringer.org/wp-content/writ ings/mini-ostrom.pdf (20 สิงหาคม 2559).

ถวิลวดี บุรีกุล และสติธร ธนานิธิโชติ. 2557. กว่าจะเป็นพลเมือง. หน้า 365-395. ใน: ถวิลวดี บุรีกุล และสติธร ธนานิธิโชติ (บก.) แนวทางการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญกลางแปล. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ.

ธีรยุทธ บุญมี. 2547. ประชาสังคม. สายธาร, กรุงเทพฯ. 239 หน้า.

นิตยา โพธิ์นอก. 2557. สิทธิชุมชน: ช่องว่างระหว่างกฎหมายและความเป็นจริง. หน้า 433-464. ใน: ถวิลวดี บุรีกุล และสติธร ธนานิธิโชติ (บก.) แนวทางการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญกลางแปลง. สถาบันพระปกเกล้า,กรุงเทพฯ.

นิตยา โพธิ์นอก. 2559. การวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2557. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 14(1): 131-154.

บูชิตา สังข์แก้ว. 2559. บทสำรวจวรรณกรรมสากลเพื่อการคิดทบทวน: การพัฒนาการกระจายอำนาจและนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4(1): 1-17.

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์. 2553. ความขัดแย้งปัญหาที่ดิน-ป่า: แง่มุมปัญหาด้านโครงสร้างกฎหมายและนโยบายรัฐ. หน้า 15-33. ใน: การสัมมนาวิชาการประจำปี 2553 เรื่อง “การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ”. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

ราชกิจจานุเบกษา. 2559. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://forestinfo.forest.go.th/Content/file/forest_low/forest-law2559.pdf (23 มกราคม 2560).

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. 2555. จุดอ่อนของงานวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 10(2): 99-134.

วุฒิชัย ตันไชย. 2545. ระบบและกระบวนการกระจายอำนาจในประเทศไทย: บทสรุปจากการสัมมนา. หน้า 97-103. ใน: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า (กอง บก.). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ.

สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง. 2545. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น คำถามที่ถึงเวลาต้องถาม. หน้า 305-316. ใน: วิทยาพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า (กอง บก.). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ.

สฤณี อาชวานันทกุล. 2552. HOT ROUND & CROWDED ล่องคลื่นโลกาภิวัฒน์ 2. openbooks, กรุงเทพฯ. 190 หน้า.

กรมป่าไม้. 2554. การถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.for est.go.th/wildfire/
images/stories/file /Scan 8793.pdf (7 กันยายน 2558).

สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี. 2558. การสร้างแบบจำลองความร่วมมือในการจัดการป่าเสม็ดในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 933 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2542. พระราชบัญญัติการกำหนดแผนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/law/พรบ.กระจายอำนาจ2542.pdf (7 กันยายน 2558).

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2593. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ. 123 หน้า.

ไสว บุญมา และนภาพร ลิมภ์ปิยากร. 2551. ธาตุ 4 พิโรธ มนุษย์จะอยู่อย่างไร เมื่อ ดิน น้ำ ลม ไฟ โกรธเกรี้ยว. มติชน, กรุงเทพฯ. 303 หน้า.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2544. มิติทางสังคมของเงื่อนไขและปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย. หน้า 337-355. ใน: ชัยอนันต์ สมุทวณิช และคณะ (บก.) ธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของประชาชน และกระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อม. สายธาร, กรุงเทพฯ.

Bureekul, T. 2000. Public Participation in Environmental Management in Thailand. King Prajadhipok’s Institute, Nonthaburi. 67 p.

Goto, K. 2007. Iriai Forest Have Sustained the Livelihood and Autonomy of Villagers: Experience of Commons in Ishimushiro Hamlet in Northeastern Japan., Edited, Annotated, and with Introduction by Motoko Shimagami. A frasian Centre for Peach and Development Studies Ryukoku University, Shiga.

Hayashi, T. 2008. Roman law studies and the civil code in modern Japan- system, ownership, and co-ownership. Osaka University. Law Review. 55(15): 15-26.

Jentoft, S. 2006. Beyond fisheries management: The Phronetic dimension. Marine Policy. 30: 671-680.

Kujima, Y, T. Sakurai, and K. Tsuka. 2000. Collective versus individualized management of community forests in Postwar Japan. Economic Development and Cultural Change. 18(4): 867-886.

Kumagai, K. 1973. On the Formation of a Customary Law on ALLMENDE in Japan (IRIAI). Osaka University Law Review. 20. (Online). Available: http://ir.library. osaka-u.ac.jp/dspace/ (September 11, 2015).

Informatics Research Center for Natural Resource and Environment, Prince of Songkhla University. 2010. Informatics of Natural Resource and Environment in Songkhla Lake Basin, Songkhla. 96 p.

Shimada, D. 2007. The changes and challenges of traditional commons in current Japan: A case study on Iriai forests in Yamaguni District, Kyoto-City. 63rd Congress for the International Institute of Public Finance Aug 2007. (Online). Available: https://e ditorialexpress.com/cgi-bin/conference /download.cgi?db_name=IIPF63&paper_id=94 (September 15, 2015).

Shimada, D. 2007. 2014. External impacts on traditional commons and present-day changes: a case study of iriai forests in Yamaguni district, Kyoto, Japan. International Journal of the Commons. 8(1): 207-235.

Yamashita, U., K. Balooni and M.O. Inuoi. 2009. Effect of instituting "Authorized Neighborhood Associations" on Communal (Iriai) Forest Ownership in Japan. Society and Natural Resources. 22(5): 464-473.