การวิเคราะห์ระบบตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาดยางพาราของเกษตรกรรายย่อย ในจังหวัดเชียงรายและพะเยา

Main Article Content

พุฒิสรรค์ เครือคำ
พนิตพิมพ์ สิทธิศักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาดยางพาราของเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายและพะเยา กลุ่มตัวอย่าง 409 คนที่เป็นสมาชิกสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดเชียงรายและพะเยา พบว่าเกษตรกรร้อยละ 83.23 ขายผลผลิตในรูปยางก้อนส่วนที่เหลือขายในรูปน้ำยางสดให้พ่อค้าคนกลาง  ยางก้อนขายผ่านช่องทางตลาดประมูลอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 51.08 ส่วนที่เหลือขายให้กับพ่อค้าเร่และพ่อค้าในท้องถิ่น (ร้อยละ 12.15 และ 20.00)  ในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดเชียงรายและพะเยามีผลผลิตยางพารา 56,189 ตัน ขายผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และพ่อค้าคนกลางระดับต่าง ๆ เท่ากับ 25,001.75 และ 31,187.25 ตัน การขายผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีส่วนเหลื่อมทางการตลาด  ส่วนการขายผ่านพ่อค้าคนกลางมีส่วนเหลื่อมการตลาด  262.78  ล้านบาท โดยส่วนเหลื่อมนี้มาจากการขาดทุนจากการผลิตยางก้อนของเกษตรกรที่ขายผลผลิตต่ำกว่าต้นทุนการผลิต 95.46 ล้านบาทหรือร้อยละ 86.69 จากกำไรทั้งหมด โดยพ่อค้าเร่และพ่อค้าคนกลางได้กำไรจากการขาดทุนของเกษตรกร 36.54 และ 58.93 ล้านบาท

Article Details

How to Cite
[1]
เครือคำ พ. และ สิทธิศักดิ์ พ. 2018. การวิเคราะห์ระบบตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาดยางพาราของเกษตรกรรายย่อย ในจังหวัดเชียงรายและพะเยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 330–352.
บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ พวงงามชื่น นครเรศ รังควัต และพนิตพิมพ์ สิทธิศักดิ์. 2555. การวิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมการปลูกยางพาราทดแทนกระเทียมและลำไยกรณีศึกษา: จังหวัดเชียงใหม่. แหล่งข้อมูล: www.academia.edu/7315285/ การวิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมการปลูกยางพาราทดแทนกระเทียมและลำไย (8 มีนาคม 2560)

จิราพร เกิดขาว จิราวดี มีเจ้ย เบญจมาพร เพชรโชติ ปนิตา หนูอินทร์แก้ว และเกรียงศักดิ์ ปัทมเรขา. 2557. พฤติกรรมการซื้อและขายน้ำยางสดของพ่อค้าในท้องถิ่น. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 33(6): 24-35

จุมพฎ สุขเกื้อ สุภาพร บัวแก้ว และพัชรินทร์ ศรีวารินทร์. 2547. ศึกษาปัจจัยพื้นฐานการผลิตการตลาดและการขนส่งยางพาราในภาคเหนือ. งบพิเศษการค้นคว้ายางปีงบประมาณ 2547. แหล่งข้อมูล: www.rubbercenter.org/research/research.php.page=2&keyword=เศรษฐศาสตร์ยางพารา.สถาบันวิจัยยาง,กรมวิชาการเกษตร (17 พฤศจิกายน 2557)

ธราธร กูลภัทรนิรันดร์ และกรกวรรษ กิจประยูร. 2556. การศึกษาการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราตามยุทธศาสตร์ยางพารา ปี พ.ศ. 2552-2556.วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานครปริทัศน์ 3(2): 112-119.

พนิตพิมพ์ สิทธิศักดิ์ และบังอร เมฆะ. 2559. การวิเคราะห์ระบบตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาดยางพาราของเกษตรกรรายย่อยในภาคเหนือตอนบน. วารสารแก่นเกษตร 44(1): 252-558.

พันธ์ธีรา รื่นพิทักษ์. 2554. เตรียมพร้อมอุตสาหกรรมยางรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 7(25): 9-11.

วราภรณ์ ชัยวินิจ. 2554. การบริหารจัดการโซ่อุปทานยางพาราและแนวทางการพัฒนาสินเชื่อธ.ก.ส. แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานยางพารา. ศูนย์วิจัยและพัฒนาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, กรุงเทพฯ. 69 หน้า.

วิษณุ เพียรทอง และชัยวัฒน์ คนจริง. 2555. การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 5(4): 518-524

ศุภโชค สมพงษ์ และวรพจน์ ศรีวงษ์คล.2556.ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) และมาตรการรองรับของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยางพาราไทย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา 26(88): 44-51

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ วีร์ พวงเพิกศึก อนุพันธุ์ สมบูรณ์วงศ์ เบญจวรรณ จันทร์แก้ว และยมนา ปานันท์. 2557. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 33 (6): 214-222.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. ต้นทุนการผลิตยางก้อนและยางแผ่นดิบปี 2548-2552. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/I0BkqH. (4 กันยายน 2559)

สุกัญญา ดวงอุปมา ภัทราพร ภาระนาค และปารีณา แอนเดอร์สัน. 2559. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 213-224.

สุภาภรณ์ พวงชมพู และเพียรศักดิ์ ภักดี. 2554. รูปแบบการค้าน้ำยางสดของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารแก่นเกษตร 39 (ฉบับพิเศษ): 236 – 240.

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์ และสมาน ศรีทองอินทร์. 2555. ผลตอบแทนการลงทุนปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 31(6): 828-836.

Yamane, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis. 2ndEdition. Harper and Row, New York. 919 p.