การสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคคอลลาเจนในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ เพศหญิง (ร้อยละ 85.25) อายุระหว่าง 21-25 ปี (ร้อยละ 50.50) มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 93.50) บริโภคคอลลาเจนเนื่องจากคนรอบข้าง (ร้อยละ 56.25) โดยบริโภควันละ 3,001-6,000 mg (ร้อยละ 53.50) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ก่อนบริโภค (ร้อยละ 86.75) และบริโภคคอลลาเจนที่ผ่านการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ร้อยละ 94.50) กลุ่มตัวอย่างมักหาข้อมูลคอลลาเจนจากอินเตอร์เน็ตและซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านเครื่องสำอาง (ร้อยละ 46.00) ส่วนใหญ่บริโภคคอลลาเจนเพื่อให้ผิวขาวขึ้น (ร้อยละ 93.75) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.25 บริโภคคอลลาเจนเป็นระยะเวลา 1-4 เดือน และส่วนมากหยุดบริโภค (ร้อยละ 73.25) เนื่องจากราคาสูง ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีผลต่อการบริโภคคอลลาเจนมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกัน จะมีระดับส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน (p<0.05)
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
กัลยาณี กรกีรติ นฤนันท์ วุฒิสินธุ์ และกฤษฎา กิตติโกวิทธนา. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางที่ช่วยให้ผิวขาวของคนวัยทำงานในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1 (2): 51-62.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. 2556. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php (25 พฤศจิกายน 2557).
วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. 2559. การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 375–388.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. 2556. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง ปี 2556). กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. 628 หน้า.
Asserin, J., E. Lati, T. Shioya and J. Prawitt. 2015. The effect of oral collagen peptide supplementation on skin moisture and the dermal collagen network: evident from ex vivo model and randomized, placebo-controlled clinical trials. Journal of Cosmetic Dermatology 14(4): 291-301.
Béguin, A. 2005. A novel micronutrient supplement in skin aging: a randomized placebo-controlled double-blind study. Journal of Cosmetic Dermatology 4(4): 277-284.
Borumand, M. and S. Sibilla. 2014. Daily consumption of the collagen supplement pure gold collagen reduces visible signs of aging. Journal of Clinical Interviews in Aging 9:1747-1758.
Borumand, M. and S. Sibilla. 2015. Effects of a nutritional supplement containing collagen peptides on skin elasticity, hydration and wrinkles. Journal of Medical Nutrition and Nutraceuticals 4(1): 47-53.
Brunel, L. 2013. Collagen: Nature’s beauty protein. (Online). Available: https://www.tonictoronto.com/Septem ber-2013/Collagen/ (October 13, 2016).
Gelse, K., E. Pöschl and T. Aigner. 2003. Collagens-structure, function, and biosynthesis. Advanced Drug Delivery Reviews 55(12): 1531-1546.
Karim, A.A. and R. Bhat. 2009. Fish gelatin: properties, challenges, and prospects as an alternative to mammalian gelatins. Food Hydrocolloids 23(3): 563-576.
Malathi, M. and D.M. Thappa. 2013. Systemic skin whitening/ lightening agents: What is the evidence?. Indian Journal of Dermatology, Venereology and Leprology 79(6): 842-846.
Oesser, S., M. Adam, W. Babel and J. Seifert. 1999. Oral administration of 14C labeled collagen hydrolysate leads to an accumulation of a radioactivity in cartilage of mice (C57/BL). Journal of Nutrition 129(10): 1891-1895.
Turkiewicz, M. 2009. Collagen hydrolysates as a new diet supplement. Food Chemistry and Biotechnology 73(1058): 83-92.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York. 1130 p.