การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม

Main Article Content

มาลิณี ศรีไมตรี
นิภา ชุณหภิญโญกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนากิจกรรมทางการตลาดผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
จักสานเชิงนวัตกรรม ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดวิสาหกิจชุมชน และผู้ซื้อผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม ทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนากิจกรรมทางการตลาดผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม ด้านผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค การเพิ่มคุณค่าของตราสินค้าโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การเพิ่มบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่ายร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ด้านราคา ประกอบด้วย ติดป้ายราคา ตั้งราคาขายปลีกต่อหนึ่งหน่วย และราคาขายส่ง ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย การตลาดบนอินเทอร์เน็ต งานแสดงสินค้า ร้านค้าชุมชน การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และด้านการส่งเสริมการตลาด ประกอบด้วย การจัดองค์ประกอบในการแสดงสินค้า และการเผยแพร่ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊กที่เป็นทางการของผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีไมตรี ม. และ ชุณหภิญโญกุล น. 2018. การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 2 (มิ.ย. 2018), 215–239.
บท
บทความวิจัย

References

ขัตติยา ขัติยวรา. 2558. การถ่ายทอดความรู้เรื่องแผนธุรกิจเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพหัตถกรรมชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3(3): 1-9.

ฌัชฌานันท์ นิติวัฒนะ. 2558. แนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาด ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุทธิปริทัศน์. 29(91): 220-238.

ทิชากร เกสรบัว. 2558. กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพแข่งขันทางการตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการรายใหม่ (ประเภทเครื่องจักสาน) ในตลาดอาเซียน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรทำนาข้าวบ้านบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23(41): 225-247.

ธวัชชัย บุญมี เดชวิทย์ นิลวรรณ มานพ ชุ่มอุ่น
จิรวรรณ บุญมี รัชนี เสาร์แก้ว ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และเบญจพร หน่อชาย. 2557. การวิจัยและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(1): 63-72.

ธันยมัย เจียรกุล. 2557. ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร. 34(1): 177-191.

นราวุฒิ สังข์รักษา. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์บริหาธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพ. 184 หน้า.

บุษรา สร้อยระย้า ชมพูนุช เผื่อนพิภพ ดวงกมล ตั้งสถิตพร อัชชา ศิริพันธุ์ และประพาฬภรณ์ ธีรมงคล. 2556. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป. วารสารวิชาการและวิจัย 7(1): 9-24.

พัชรา วงศ์แสงเทียน ชญานิษฐ์ ศศิวิมล และพัทธนันท์ โกธรรม. 2559. การพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนดงเดือย อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที¬ 7 “ยกระดับงานวิจัย เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก”. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ. 1461 หน้า.

ภาณุพงศ์ สอนคม. 2554. ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่าง. รายวิชา 305171 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://handtoolswithfolkwisdom.blogspot.com/ (16 กุมภาพันธ์ 2559).

ภาสกร โทณะวณิก. 2554. การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรม สาขางานจักสานของจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 212 หน้า.

มณีรัตน์ รัตนพันธ์. 2558. ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 13(2) : 145-153.

ลัดดาวัลย์ แก้วกิติพงษ์. 2556. บทวิเคราะห์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่จากมุมมองเครือข่ายคุณค่า. วารสารบริหารธุรกิจ 36(139): 43-58.

วิทยา จารุพงศ์โสภณ. 2549. การกำหนดราคาเพื่อกำไรสูงสุด. วารสารบริหารธุรกิจ 29(110): 45-54.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. 2559. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 22 บทที่ 3 เครื่องจักสาน © ลิขสิทธิ์เป็นของโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/Ebook/Ebook.php (15 กุมภาพันธ์ 2559).

หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนารถ. 2559. หวด - ภาชนะนึ่งข้าวเหนียวจากไม้ไผ่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/ (15 กุมภาพันธ์ 2559).

อัญชัญ จงเจริญ. 2555. พัฒนารูปแบบและมาตรฐานการจัดการธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้า OTOP และของฝากชุมชน จังหวัดระนอง. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ. 90 หน้า.

อานันท์ ตะนัยศรี. 2559. วิสาหกิจชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://ophbgo.blogspot.com/ (15 กุมภาพันธ์ 2559).

อาภาพรรณ จันทนาม. 2556. การส่งเสริมการตลาด การจัดประชุมสีเขียวในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 4(2) : 139-152.

Chen, Y.K., Y. Jaw, and B. Wu. 2016. Effect of digital transformation on organisational performance of SMEs Evidence from the Taiwanese textile industry’s web portal. Internet Research. 26(1): 186-212.

Jones, N., R. Borgman, and E. Ulusoy. 2015. Impact of social media on small businesses. Journal of Small Business and Enterprise Development. 22(4): 611-632.

Southdeepoutlook. 2559. ชุมชนบ้านหนองขอน ต่อยอดหวดอัตโนมัติ สืบสานภูมิปัญญาเครื่องจักสานไทยสู่สากล. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : https://www.southdeepoutlook.com/brief/ /90631/ชุมชนบ้านหนองขอน-ต่อยอดหวดอัตโนมัติ-สืบสานภูมิปัญญาเครื่องจักสานไทยสู่สากล (15 กุมภาพันธ์ 2559).