การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุในการลดผลกระทบจาก แผ่นดินไหวในระดับหมู่บ้านจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศิรินันต์ สุวรรณโมลี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเส้นทางอิทธิพลของการลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวในระดับหมู่บ้านในจังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยเจาะจงเลือกตัวแทนของพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2556 ได้แก่ อำเภอแม่ลาว อำเภอพาน อำเภอแม่สรวย ซึ่งมีชุมชนรวมกัน 425 ชุมชน การเก็บข้อมูลเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ.2559 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี หลังแผ่นดินไหว กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 252 ชุด เป็นผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนของชุมชน ผู้วิจัยวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (path analysis) ด้วยโปรแกรม Mplus 6.11 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนที่ p-value=0.4328,  c2 / df = 42.890/42, RMSEA=0.009, CFI= 0.999, TLI= 0.998 โดยมีปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นที่ส่งอิทธิพลต่อกันเป็นวงจร เริ่มจากเมื่อประชาชนมีการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้จะส่งอิทธิพลให้เกิดการสื่อสาร การสื่อสารของผู้นำหมู่บ้านจะส่งอิทธิพลไปสู่การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งส่งอิทธิพลต่อไปสู่การควบคุมความเสี่ยง และเมื่อมีการดำเนินงานลดผลกระทบจากภัยพิบัติการรับรู้ความเสี่ยงก็จะได้รับอิทธิพลด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
สุวรรณโมลี ศ. 2018. การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุในการลดผลกระทบจาก แผ่นดินไหวในระดับหมู่บ้านจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของจังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 633–653.
บท
บทความวิจัย

References

เครือข่ายจัดการภัยพิบัติภาคประชาชนจังหวัดเชียงราย. 2558. ปฐมบทแห่งบทเรียน บทเรียนการรับมือกับภัยพิบัติในระยะเร่งด่วน 3 เดือนแห่งการบูรณาการความร่วมมือกับแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่. 92 หน้า.

นิลุบล สู่พานิช. 2549. แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาคสนามในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานในประเทศไทย. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ. 346 หน้า.

ทวิดา กมลเวชช. 2554. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ. 136 หน้า.

ปัญญา จารุศิริ. 2557. แผ่นดินไหว-ที่คนไทย ควรรู้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/F29iHL (15 เมษายน 2558).

ภาสกร ปนานนท์. 2558. 1 ปี “แผ่นดินไหวแม่ลาว” (ตอนที่ 1) กับอาฟเตอร์ช็อกอีกกว่า 500 วัน-ทำความเข้าใจความแผ่นดินไหว ภัยที่พยากรณ์ไม่ได้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://thaipublica.org/2015/05/mae-lao-earthquake/ (15 พฤษภาคม 2558).

เรืองไร อินทรากอง และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2559. ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตนของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติ ทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 103-114.

ศิรินันต์ สุวรรณโมลี. 2559. การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวของจังหวัดเชียงรายในปี 2557. วารสารวิจัยสังคม 39(1):109-145.

Comfort, L. K. 2007. Crisis management in hindsight: Cognition, communication, coordination and control. Public Administration Review 67(special Issue): 189-197.

Comfort, L. K. and S. L. Resodihardjo. 2013. Leadership in complex adaptive systems. International Review of Public Administration 18(1): 1-5.

Comfort, L. K. 2000. Response operations following the Chi-Chi (Taiwan) earthquake: Mobilizing a rapidly evolving, interorganizational system. Journal of the Chinese Institute of Engineers 23(4): 479-492.

Steigenberger, N. 2016. Organizing for the Big One: A Review of Case Studies and a Research Agenda for Multi Agency Disaster Response (June 2016). Journal of Contingencies and Crisis Management, Vol. 24, Issue 2, pp. 60-72, 2016.