การพัฒนาเครื่องมือในการซักประวัติโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยในร้านยา สำหรับแรงงานต่างด้าวชาวพม่า

Main Article Content

ณิชวรรณ ตันติโสภณวนิช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือในการซักประวัติโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยในร้านยา สำหรับแรงงานต่างด้าวชาวพม่า วิธีการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาเครื่องมือสำหรับซักประวัติ  และ 2) การประเมินผลความคิดเห็นที่มีต่อเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในร้านยา เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนภูมิแนวทางการรักษาโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยที่ร้านยา และ 2) สมุดคำถามสำหรับอาการทางนรีเวชที่พบบ่อย ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 88 คนประเมินความคิดเห็นที่มีต่อเครื่องมือด้านลักษณะรูปแบบ และ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็น > 3.50 ซึ่งถือว่า ผ่านตามเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยสรุปเครื่องมือสำหรับซักประวัติที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมด้านรูปแบบของเครื่องมือและสามารถนำมาใช้ได้จริง ในอนาคตอาจมีการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับร้านยาแต่ละร้าน และการใช้งานจริงให้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
ตันติโสภณวนิช ณ. 2018. การพัฒนาเครื่องมือในการซักประวัติโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยในร้านยา สำหรับแรงงานต่างด้าวชาวพม่า. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 562–585.
บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. 2559. ข้อมูลประจำเดือน กันยายน 2559 สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กลุ่มงานการจัดระบบองค์การเอกชนการเคลื่อนย้ายบุคคลตามข้อตกลงการค้าเสรีและสารสนเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://lib.doe.go.th/ebookdoc/020400016313_0.pdf (10 ธันวาคม 2559)

จรินทร์ ขะชาตย์ เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล และสมควร สุขสัมพันธ์. 2557. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 24(1): 136-148.

นพดล สโรบล. 2543. What’s up Doc?. ลลิต คอนซัลทิ่ง เฟิร์ม, กรุงเทพฯ. 214 หน้า.

บวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล และ สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. 2557ก. การพัฒนาฉลากภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ ตอนที่ 1: วิธีการรับประทานยาเม็ด. วารสารเภสัชกรรมไทย 6(1): 41-60.

บวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล และ สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. 2557ข. การพัฒนาฉลากภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้หนังสือ ตอนที่ 2: คำแนะนำการใช้ยา. วารสารเภสัชกรรมไทย 6(1): 61-74.

ศรัณย์ กอสนาน. 2555. บทบาทลักษณะและความ
สามารถของเภสัชกรสำหรับการเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในร้านยาที่ได้รับการรับรองเป็นร้านยาคุณภาพ. สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 7(2): 47-52.

สำนักงานสถิติ จังหวัดนนทบุรี. 2557. รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2557. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://nontburi.nso.go.th/images/PDF/nont/report57.pdf (10 ธันวาคม 2558).

สุชาดา ทวีสิทธิ์. 2554. การพัฒนาสุขภาวะผู้หญิงในประเทศไทย. หน้า 161-179. ใน: สุรีย์พร ฟันพึ่ง และมาลี สันภาวรรณ์ (บก.). ประชากรและสังคม 2554: จุดเปลี่ยนประชาก จุดเปลี่ยนสังคมไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. 2555. การเข้าถึงบริการสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของแรงงานข้ามชาติสตรีไทใหญ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 42(3): 68-82.

Boon, H. and M. Stewart. 1998. Patient-physician communication assessment instruments: 1986 to 1996 in review. Patient Education and Counseling 35(3): 161-176.

Hu, J. and C. Podhisita. 2008. Differential utilization of health care services among ethnic groups on the thailand-myanmar border: a case study of Kanchanaburi province, Thailand. Journal of Population and Social Studies 17(1): 115-133.

Daraidotsadeekul, S. 2009. Developing nursing documentation by action research. Journal of Nursing Science 27(3): 93-98.