ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อการอนุวัติระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ MRCF ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึง (1) สภาพการอนุวัติระบบ ส่งเสริมการเกษตรแบบ MRCF ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (2) ความคิดเห็นต่อการอนุวัติระบบการส่งเสริมแบบ MRCF และ(3) ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะในการอนุวัติระบบการส่งเสริมแบบ MRCF ประชากรที่ใช้ศึกษาคือนักวิชาการเกษตรผู้รับผิดชอบงานระบบส่งเสริมการเกษตร MRCF ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 103 คน ใช้ระเบียบแบบแผนวิจัยแบบผสมผสานวิธี: ชนิด Explanatory Sequential Design ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ในขั้นตอนแรก แล้วตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพแล้วอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จำนวนร้อยละ 58.0 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.16 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นจำนวนร้อยละ 69.0 (2) โดยภาพรวม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางต่อการนำระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ MRCF ไปปฏิบัติ และมีความคิดเห็นในระดับเห็นว่าระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ MRCF มีผลกระทบต่อเกษตรกร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานส่งเสริมการเกษตร (3) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรรายงานปัญหาและอุปสรรคในการอนุวัติระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ MRCF ว่ายังขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานตามระบบ MRCF และขาดการสนับสนุนจากหน่วยงาน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่ในด้านการใช้แผนที่และเครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณในการไปปฏิบัติงานตามระบบ MRCF อย่างต่อเนื่อง
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ชุติกาญจน์ คำนา บำเพ็ญ เขียวหวาน และ
ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2558. การดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเขตที่ 6. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/IEvIVe
(4 ตุลาคม 2559)
บังอร ศิริสัญลักษณ์. 2558. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 319-330.
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2558. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรของเกษตรกร. วารสารสังคมศาสตร์ 4(2): 43 - 54.
ประจักษ์ เทพคุณ อภิญญา รัตนไชย และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. 2557. รูปแบบการส่งเสริมการเกษตรภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดนราธิวาส. วารสารแก่นเกษตร 42 (ฉบับพิเศษ1): 571-577.
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง โชตนา ลิ่มสอน เสาวลักษณ์ ฤทธิ์อนันต์ชัย และชัยกร สีเหนี่ยง. 2557. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Analysis) ระบบส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(3): 601-612.
ลัดดา แพรภัทรพิศุทธิ์ วิทยา ประพิณ และ ไสลทิพย์ โชติพันธ์. 2557. ความพึงพอใจในการรับบริการสารสนเทศการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 35(2): 283 – 298.
วราภk คุณาพร.2549. หลักการส่งเสริมการเกษตรเบื้องต้น ตำรา. ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 235หน้า.
สาธิณี จองเดิน. 2552. เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาคการเกษตรไทย. วารสารวิชาการส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร 5(2): 50-53.
สิน พันธุ์พินิจ. 2542. ระบบการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมสำหรับภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 22(2): 155 - 164.
อรนุช รัตนเลิศสกุล บำเพ็ญ เขียวหวาน และเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. 2558. การส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ MRCF ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ครั้งที่ 5. ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ. 1-14 หน้า.
Creswell, J.W. 2005. Educational Research: Planning, Conducting and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. 2nd ed. Upper Sanddle River, New Jersey. 621 p.
Stair, R.M. and G. W. Reynolds Fundamentals of information systems. 3th ed. Thomson, Boston. 414 p.