กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรรณนุช ชัยปินชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์และปัญหาในการดำเนินกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการ จำนวน 34 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญสูงสุดในการดำเนินกลยุทธ์ด้านการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหม่ที่มีวัตถุดิบคุณภาพสูง ด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบคู่แข่งขัน
มีความเป็นเอกลักษณ์ด้วยการผสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยากต่อการลอกเลียนแบบในด้านลวดลาย ด้านการคิดค้น พัฒนากระบวนการ/วิธีการใหม่ ด้านการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าจากคลังไปยังลูกค้าปลายทาง ด้านการชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าโดยการกำหนดราคาขายที่สมเหตุสมผล ด้านการคิดค้นรูปแบบกิจกรรมในการให้บริการหลังการขายเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าที่มีรูปแบบพิเศษเฉพาะด้านการใช้ภูมิปัญญาและประสบการณ์ที่สั่งสมมาผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างสรรค์การดำเนินงานของธุรกิจด้านต่าง ๆ เช่น การผลิต และการบริการลูกค้า ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเกื้อหนุนให้บุคลากรทุกระดับได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ด้านการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเพื่อแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าพบ และด้านการสร้างความสัมพันธ์กับซับพลายเออร์ที่มีรูปแบบพิเศษเฉพาะ ผลการศึกษาปัญหาโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยระดับความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์อยู่ในระดับต่ำ คือ ด้านการเปลี่ยนวิธีการเพื่อสามารถ reclaim การสกัดเอาทรัพยากรคืน หรือ การผลิตผลพลอยได้ ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจในการบริหารพนักงาน ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐสามารถเพิ่มคุณค่าแก่ธุรกิจ ด้านการวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดหาวัตถุดิบ การตอบสนองเงื่อนไขที่เข้มงวดของภาครัฐ การจัดการให้พัสดุคงคลัง การแก้ไขปัญหาลูกค้า และกระบวนการทำงานใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อมุ่งสู่การจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

Article Details

How to Cite
[1]
ชัยปินชนะ พ. 2018. กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 526–543.
บท
บทความวิจัย

References

ประทานพร โสภาจิตต์วัฒนะ. 2553. การประยุกต์ 7-S’s Mc Kinsey สำหรับระบบการบริหารจัดการ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 30(3): 78-87.

วรรณา ต. แสงจันทร์ และสุจินต์ พราวพันธุ์. 2558. การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเซรามิก. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 63 (198): 6-9.

ตุนท์ ชมชื่น และจักรพันธ์ ชัยทัศน์. 2559. การผลิตด้วยทุนวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 18 - 31.

ศูนย์บริการข้อมูลทางการค้าการลงทุน จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่. 2553. ฐานข้อมูลสินค้าหัตถกรรมที่มีศักยภาพ: ผลิตภัณฑ์เซรามิก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tisc.feu.ac.th/input/
file_upload/เซรามิก%20บทวิเคราะห์_2010_12_21_22_31_44.pdf
(24 พฤษภาคม 2558).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2552. รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. บี.ซี. เพรส, กรุงเทพฯ. 112 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. 2558. แนวคิดการประเมิน VCI. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.nfi.or.th/vc-pineapple/index.php/vci/vci01
(9 กันยายน 2558).

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. 2558. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (พ.ศ. 2557-2560).

(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.osmnorth-n1.moi.go.th/
admin/st/25.pdf (24 พฤษภาคม 2558).

สุพาดา สิริกุตตา. 2556. กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ: กรณีศึกษาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคกลางตอนบน. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 34: 428-439.

Krejcie, R. V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30: 607 - 610.

Weelen, T. L. and D. J. Hunger. 2012. Strategic Management and Business Policy. 13th ed. Prentice Hall, New Jersey. 912 p.