คุณลักษณะของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

ปทุมวดี ศิริสวัสดิ์
นิธิดา อดิภัทรนันท์
นันทิยา แสงสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู 20 คน นักเรียน 600 คน และผู้ปกครอง 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะความเป็นครูจากประสบการณ์ของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงแบบสอบถามครูด้านการวิเคราะห์ คุณลักษณะความเป็นครู เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์ครูด้านการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียน ผู้ปกครองและครู ต่างมีความเห็นว่าคุณลักษณะความเป็นครูของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในระดับปานกลาง (2) ครูมีความเข้าใจว่าการตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่เป็นคุณลักษณะหนึ่งของความเป็นครูที่ดี ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ตนเองแล้ว ครูระบุว่าครูมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แต่อย่างไรก็ตามครูยังพบว่าตนเองมีข้อบกพร่องที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ดังนั้นครูจึงมีความต้องการด้านนโยบายเพื่อที่จะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูตามกรอบจรรยาบรรณของคุรุสภา

Article Details

How to Cite
[1]
ศิริสวัสดิ์ ป., อดิภัทรนันท์ น. และ แสงสิน น. 2018. คุณลักษณะของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 489–505.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2553. แผนการศึกษาแห่งชาติ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.moe.go.th/moe/
th/news/detail.php?NewsID=14950&Key=news1 (7 มีนาคม 2560).

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรรฐานวิชาชีพและจจยาบรรณของวิชาชีพ. (2548, 5, กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ ๗๖ ง. หน้า 39.

ดวงพร ดุษฎี บรรจง เจริญสุข และวันชัย ธรรมสัจการ. 2559. คุณลักษณะของครูสอนดีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลังสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 27(3): 43-57.

พระครูวิชัยคุณวัตร ชาญสมบัติ. 2559. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: โรงเรียนพังงูวิทยาคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 262-272.

พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี). 2553. จิตวิญญาณความเป็นครู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.gotoknow.org/post/
329230 (6 มีนาคม 2560).

เรืองวิทย์ นนทกา. 2559. คุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น10(2): 142-153.

วัลนิกา ฉลากบาง. 2559. จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2): 123-128.

วิจิตร ศรีสอ้าน. 2560. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ครูในฝัน” เนื่องในโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 3. วันที่ 29 มีนาคม 2558. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช. 41 หน้า.

สจีรัตน์ แจ้งสุข ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร ทะนงศักดิ์ คุ้มน้ำไข่ และวาโร เพ็งสวัสดิ์. 2559. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างทางเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพ ในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2): 33-42.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ. 183 หน้า.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2560. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ. 46 หน้า.

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภา. 2560. ความหมายวิชาชีพทางการศึกษา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://education.dusit.ac.th/QA/articles/doc02.pdf (7 มีนาคม 2560).

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต. 2558. การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 17(1): 33-48.