การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตจริยธรรมในการดำเนินชีวิต ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นงนภัส พันธ์พลกฤต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของจิตจริยธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่  กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 (ปวส.1) ปีการศึกษา 2558 ทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน ในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 1,183 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และใช้โปรแกรมวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าองค์ประกอบของจิตจริยธรรมตามทฤษฎี สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าการทดสอบความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ทุกค่า กล่าวคือ ค่าไค-สแควร์ (c2) มีค่า = 9.96 องศาอิสระ (df) = 10 ระดับนัยสำคัญ (p - value) = 0.44 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.96 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) = 0.98 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (SRMR) = 0.03 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) = 0.00 และองค์ประกอบด้านจิตลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด (0.83) ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญที่สุดต่อตัวแปรจิตจริยธรรม

Article Details

How to Cite
[1]
พันธ์พลกฤต น. 2018. การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตจริยธรรมในการดำเนินชีวิต ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 471–488.
บท
บทความวิจัย

References

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1):1-4.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน โกศล มีคุณ และงามตา วนินทานนท์. 2556. ครูกับการเสริมสร้างจริยธรรมแก่นักเรียน คำถาม และคำตอบ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 111 หน้า.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2543. พหุปัจจัยเชิงเหตุของลักษณะทางพุทธศาสนาในเยาวชนไทยปัจจุบัน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์
40(4): 75-85.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2540. การใช้ผลผลิตจากการวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคนไทย. วารสารแนะแนว 31(166): 45-49.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. 2547. จิตลักษณะที่สำคัญตามทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติและพฤติกรรมการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้า. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย 1(2): 136-163.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2542. โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 443 หน้า.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2555. ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 498 หน้า.

พระครูวิชัยคุณวัตร ชาสมบัติ. 2559. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: โรงเรียนพังงูวิทยาคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 261-272.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11 (พ.ศ. 2555 -2559). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.nesdb.go.th (18 กันยายน 2556)

หนึ่งฤทัย ชัยดารา. 2559. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้กับผู้ปกครองแบบสุขดีเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูลูกให้ถูกเพศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 273-283.

Atkinson, J.W. 1957. Motivational determinants of risk taking behavior. Psychological Review 64(6): 359-372.

Beal, S. J. 2011. The Development of Future Orientation: Underpinnings and Related Constructs. Doctoral dissertation. THE University of NEBRASKA, Lincoln. 203 pp.

Bollen, K. A. 1989. Structural equations with latent variables. John Wiley & Sons, New York. 528 pp.

Diamantopoulos, A. and J.A. Siguaw. 2000. Introducing LISREL. SAGE, London. 192 pages

Hair, J.F., R.E. Anderson, R.L. Tathum and W.C. Black. 1995. Multivariate data analysis with readings. 4thed. Prentice-Hall, New Jersey. 582 pp.

Kelloway, E K. 1998. Using LISREL for structural equation modeling: A researcher’ s guide. Thousand Oaks. SAGE, New Jersey. 147 pp.

McClelland, D.C. 1961. The Achieving society. New Jersey, Van Nostrand. 388 pp.

Mischel, W., R. Zeiss and A. Zeiss. 1974. Internal-external control and persistence: Validation and implications. Journal of Personality and Social Psychology 29(2): 265-275.

Zimbardo, P.G. 1992. Psychology and Life. Harper Collins, New York. 703 pp.