การเรียนรู้ของเกษตรกรเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติตามการเกษตรที่ดี

Main Article Content

อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว
สุรศักดิ์ เหน็บบัว
นันทิยา พนมจันทร์

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการแบบมีส่วนร่วมในระบบการบริหารจัดการกลุ่มวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการในด้านของผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินงาน การนำเสนอนี้เป็นผลการประเมินการปฏิบัติที่ดีของกลุ่มวิจัยสุขภาพชุมชน ทำการศึกษาในพื้นที่ อ.ศรีบรรพต และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยการสังเกตการปฏิบัติงานของนักวิจัย สัมภาษณ์นักวิจัยและประชาชนในชุมชน จากการศึกษาพบว่า กลุ่มวิจัยสุขภาพชุมชนมีผลการปฏิบัติการที่ดี คือ ด้านผลผลิต กลุ่มวิจัยมีกระบวนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ โดยนักวิจัยมีส่วนร่วมในการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชน นักวิจัยพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้แสดงตนในการเป็นผู้นำและให้นักวิจัยมีความต่อเนื่องในการลงชุมชน สำหรับด้านผลลัพธ์ กลุ่มวิจัยมีกระบวนการถอดความรู้และประสบการณ์ โดยนักวิจัยมีกระบวนการสร้างองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการถอดประสบการณ์ของปราชญ์ชาวบ้านจนเกิดองค์ความรู้ภูมิปัญญาและพืชภูมิปัญญา จากผลการปฏิบัติที่ดีดังกล่าวส่งผลให้ชุมชนมีกลุ่มและเครือข่ายเพิ่ม มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ชุมชนมีน้ำใจ และเกิดการสืบสานภูมิปัญญา

Article Details

How to Cite
[1]
ทองแกมแก้ว อ., เหน็บบัว ส. และ พนมจันทร์ น. 2018. การเรียนรู้ของเกษตรกรเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติตามการเกษตรที่ดี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 3 (มิ.ย. 2018), 446–470.
บท
บทความวิจัย

References

นพวรรณ บุญธรรม สุรพล ดำรงกิตติกุล และไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล. 2559. การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 60-74.

ประชุม รอดประเสริฐ. 2545. การบริหารโครงการ. เนติกุลการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 241 หน้า.

พนารัช ปรีดากรณ์. 2550. การประเมินผลความสำเร็จเชิงผลลัพธ์และเป้าหมายสูงสุดของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 27(2): 73-87.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2557. แนวคิดและกระบวนการประเมินโครงการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 7(1): 1-12.

ศิริชัย กาญจนวาสี. 2552. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 233 หน้า.

สมคิด พรมจุ้ย. 2542. เทคนิคการประเมินโครงการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 290 หน้า.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2548. โครงการติดตามประเมินผลการแปลงนโยบาย แผน และมาตรฐานการไปสู่การปฏิบัติ. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ. 499 หน้า.

อลิษา สหวัชรินทร์. 2560. แผนวิสัยทัศน์พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางยี่ขันฝั่งเหนือ: การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างยั่งยืนในบริบทของไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 1-13.

Christie, C.A. 2003. What guides evaluation? A study of how evaluation practice maps onto evaluation theory. New Directions for Evaluation 97: 7-35.

Cousins, J.B. 2001. Do evaluator and program practitioner perspective converge in collaborative evaluation? The Canadian Journal of Program Evaluation 16(2): 113-133.

Daigneault, P.M. and S. Jacob. 2009. Toward accurate measurement of participation: Rethinking the conceptualization and operationalization of participatory evaluation. American Journal of Evaluation 30: 330-340.