คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูและปัญหาใน การฝึกปฏิบัติงานคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

ปทุมวดี ศิริสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) ศึกษาปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครู และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการปฏิบัติงานวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 18 คน และครูพี่เลี้ยง จำนวน 191 คน จากโรงเรียนแหล่งฝึก 18 แห่ง นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครู จำนวน 222 คน ตัวแทนจากนักศึกษาทั้ง 15 สาขาวิชา จำนวน 22 คน และ อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้น 474  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์กลุ่มสำหรับผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยงและตัวแทนนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู แบบสอบถามสำหรับอาจารย์นิเทศก์ และนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณนา  ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู ควรเน้นตามมาตรฐานความรู้ ประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2556 และจิตอาสาเป็นคุณลักษณะพึงประสงค์ที่สำคัญ 2. ปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูพบว่า เป็นด้านการบริหารจัดการกระบวนวิชาปฏิบัติงานวิชาชีพครู 3. แนวทางในการแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการปฏิบัติงานวิชาชีพครูของนักศึกษาพบว่าคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และโรงเรียนแหล่งฝึกควรมีข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในการจัดการพัฒนาการปฏิบัติงานวิชาชีพครู

Article Details

How to Cite
[1]
ศิริสวัสดิ์ ป. 2018. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูและปัญหาใน การฝึกปฏิบัติงานคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (มิ.ย. 2018), 202–220.
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา หินอ่อน และสุรพันธ์ ตันตรีวงษ์. 2558. ปัญหาและแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 6(1): 159-167.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560. คู่มือการปฏิบัติการวิชาชีพครู. เอกสารประกอบการเรียนการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 16 หน้า.

ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ และทิพย์รัตน์ นพฤทธิ์. 2560. สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของอาจารย์พี่เลี้ยงอาจารย์ใหม่: ชุมชนแห่งการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 107-117.

พรรษา เอกพรประสิทธิ์. 2559. ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 14(1): 87-99.

เรืองวิทย์ นนทกา. 2559. คุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 10(2): 142-153.

วัลนิกา ฉลากบาง. 2559. จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 6(2): 123-128.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2555. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).

(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.mua.go.th/users/bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf (20 มิถุนายน 2560)

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2556. มาตรฐานวิชาชีพครู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.ksp.or.th/ksp2013/ content/view.php?mid= 136&tid=3&pid=6 (20 มิถุนายน 2560).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2560. แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี กับการบูรณาการสู่แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาจังหวัด. เอกสารประกอบการประชุม. กรุงเทพฯ. 42 หน้า.

สุนิสา ทรงอยู่ วิชุดา กิจธรรม และอรพินทร์ ชูชม. 2560. ผลของโปรแกรมพัฒนาจิตอาสาตามแนวคิดการเรียนรู้จากการให้การบริการสังคมของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 11(25): 153-163.

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต อมรรัตน์ วัฒนาธร เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย และปกรณ์ ประจันบาน. 2558. การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 17(1): 33-48.