องค์ความรู้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

รุจิราภา งามสระคู

บทคัดย่อ

องค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวไทยทรงดำในการนำผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำมาผลิตเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำโดยเฉพาะผ้าลายแตงโมและผ้าปะ มีเครือข่ายเข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้ากี่กระตุกบ้านยางลาว ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ โรงเรียนวัดกลางบ้านดอน และโรงเรียนวัดยางสว่างอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผ้าทอลายแตงโมและผ้าปะแฝงนัยยะที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยทรงดำไว้ ด้วยการใช้เส้นด้ายสีครามเข้มเกือบดำในการทอ ส่วนผ้าปะที่ใช้แต่งเติมบนผ้าทอให้สวยงามมีลวดลายสื่อถึงความผูกพันกับธรรมชาติ ผ้าสองชนิดนี้จึงแสดงเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างชัดเจน ผู้วิจัยได้นำผ้าดังกล่าวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดังนี้ พวงกุญแจ กระเป๋า กล่องใส่แว่นตาและสมุดจดบันทึก ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์พบว่า ด้านการออกแบบ ด้านราคา และด้านประโยชน์ใช้สอยมีความพอใจในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
งามสระคู ร. 2018. องค์ความรู้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (มิ.ย. 2018), 153–175.
บท
บทความวิจัย

References

ขัตติยา ขัติยวรา. 2558. การถ่ายทอดความรู้เรื่องแผนธุรกิจเพื่อพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนของกลุ่มอาชีพหัตถกรรม ชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 261 - 269.

จรัสพิมพ์ วังเย็น. 2554. แนวคิดหลังสมัยการย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 13(1): 20 – 23.

จุรีวรรณ จันพลา วลี สงสุวงค์ เพ็ญสินี กิจค้า และสุรีรัตน์ วงศ์สมิง. 2559. การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University 9(2): 82-98.

ชมจันทร์ ดาวเดือน. 2558. การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีจากผ้าทอโบราณบ้านผาทั่ง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6(1): 121 – 133.

ฐิติพันธ์ จันทร์หอม. 2559. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอภูมิปัญญาของชาวไทยทรงดำในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย 21(1): 181-192.

ณัฐพล ซอฐานานุศักดิ์. 2559. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเชิงพาณิชย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัยและงานสร้างสรรค์ 3(1): 24 - 46.

ดวงใจ อุชชิน และ รัฐไท พรเจริญ. 2559. การศึกษาและการออกแบบผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องประดับโดยนำแนวคิดความเชื่อจากวัฒนธรรมไทยทรงดำ กรณีศึกษา : กลุ่มสตรีทอผ้าไทยทรงดำ บ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 7(1): 39 – 55.

ตุนท์ ชมชื่น และสมชาย ใจบาน. 2558. การเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน “ผ้าทอกระเหรี่ยง”ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 203 - 214.

สมบัติ ประจญศานต์. 2558. ลวดลายเรขศิลป์ส่วนประดับของปราสาทขอมบนผ้าไหมมัดหมี่ต่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 331 - 338.

อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว พินิจ ดวงจินดา สุธาสินี บุญญาพิทักษ์ สุนิสา คงประสิทธิ์ ธนภัทร เต็มรัตนะกุถล พัชลินจ์ จันนุ่น ชาลินี สะท้านบัว พรพันธุ์ เขมคุณาศัย และเบญจวรรณ บัวขวัญ. 2560. การประเมินแบบมีส่วนร่วมในระบบการบริหารจัดการกลุ่มวิจัย: กรณีศึกษาการปฏิบัติที่ดีของกลุ่มวิจัยสุขภาพชุมชนเพื่อพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่และสังคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(3): 446 – 456.