คนหาปลากับทุนทางสังคม: สวัสดิการชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการชุมชนชาวประมงชายฝั่งทะเลอันดามันในภาคใต้ของประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ที่ได้รับ และไม่ได้รับสวัสดิการ ผู้จัดสวัสดิการในชุมชน รวมจำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ตามประเด็น ถอดรหัส ตีความ และเรียบเรียงข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนชาวประมงชายฝั่งทะเลอันดามันในภาคใต้ของประเทศไทยมีการจัดสวัสดิการบนฐานของวัฒนธรรม โดยมีสวัสดิการตั้งแต่แรกเกิด การดำรงชีวิต จนกระทั่งการเสียชีวิต รวมถึงเชื่อมโยงและบูรณาการให้เกิดความสมดุลของคนและชุมชนที่เกิดจากวัฒนธรรมของอิสลาม และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เหล่านี้เป็นทุนทางสังคมที่ทำให้เกิดสวัสดิการชุมชน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
โกวิทย์ พวงงาม. 2550. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 870 หน้า.
จิรัชยา เจียวก๊ก สันติชัย แย้มใหม่ และอุทิศ สังขรัตน์. 2558. โนรากับสุขภาวะของคนและชุมชน. วารสารไทยคดีศึกษา 12(2): 150-176.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ และอุสุมา เลิศศรี. 2546. บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 286 หน้า.
นงนุช ศรีสุข. 2555. วิจารณ์หนังสือ เรื่อง วรรณกรรมปริทรรศน์และการสังเคราะห์ความรู้สวัสดิการชุมชนในประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 30(2): 141-153.
ปาริชาติ วลัยเสถียร พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น สหัทยา วิเศษ จันทนา เบญจทรัพย์ ชลกาญจน์ ฮาซันนาวี. 2552. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 624 หน้า.
พรธิดา วิเศษศิลปานนท์. 2555. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอ. วารสารสมาคมนักวิจัย 17(3): 63-73.
ระพีพรรณ คำหอม. 2557. สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 376 หน้า.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. 2551. ทุนทางสังคม กระบวนการทัศน์ใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อม. ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.
ศุภชัย สมันตรัฐ. 2548. การพัฒนาการบริหารสวัสดิการซะกาตของชาวไทยมุสลิมจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 148 หน้า.
สุนทร ปัญญะพงษ์ วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์ และวงศา เล้าหศิริวงศ์. 2555. ความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำจากเขื่อนลำปะทาว อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 8(1): 115-135.
สุรวุฒิ ปัดไธสง. 2545. วัฒนธรรมชุมชน: เงื่อนไขความเข้มแข็งชุมชน/หมู่บ้าน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 8(1): 11-20.
อาทิตย์ บุดดาดวง และสุพรรณี ไชยอำพร. 2555. ความสามารถในการนำทุนทางสังคมออกมาใช้ของชุมชนบ้านบางไพร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสมาคมนักวิจัย 17(1): 29-41.
อาแว มะแส. 2555. การจัดสวัสดิการชุมชนผ่านกลุ่มออมทรัพย์: ทางเลือกในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในชนบทไทย. วารสารพัฒนาสังคม 14(2): 19-38.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. 2559. “สวัสดิการชุมชน” ความสมดุลระหว่างการให้และการรับ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 327–336.
Bourdieu, P. 1989. Social space and symbolic power. Sociological Theory 7(1): 14-25.