องค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

อะเคื้อ กุลประสูติดิลก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพภาพตนเองจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและเพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู โดยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวไทยทรงดำ ในการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 33 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ หมอพื้นบ้าน ผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตรวจสอบข้อมูลด้วยลักษณะสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การรักษาดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน มีการรักษาดูแลสุขภาพทั้งทางกาย ใจและจิตวิญญาณ เช่น การตั้งครู การใช้คาถาประกอบการรักษา การรักษาด้วยสมุนไพร และให้ความสำคัญกับการห้ามกินของแสลง การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านของชาวไทยทรงดำ อาศัยความเชื่อ พิธีกรรม วัฒนธรรมของชุมชน และทรัพยากรในชุมชน เช่น การดูแลสุขภาพด้านประเพณีการเกิด การดูแลสุขภาพด้านการดูแลเด็ก การบริโภคผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยสมุนไพร พิธีเสนเรือน พิธีป้าดตง การขับมด พิธีเสนฆ่าเกือด พิธีเสนโต๋ว และการแปลงขวัญ

Article Details

How to Cite
[1]
กุลประสูติดิลก อ. 2018. องค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไทยทรงดำ ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (มิ.ย. 2018), 106–130.
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง เพชรา ทองเผ่า จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ และ อรพนิต ภูวงษ์ไกร. 2559. การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลมารดาและทารก โดยใช้ห้องเรียนชุมชน และการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 33(4): 288-299.

กานต์ทิตา สีหมากสุก และบุญรอด บุญเกิด. 2559. วิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมของไทยทรงดำ : กรณีศึกษาเขตตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 24(44): 83-102.

กิ่งแก้ว เกษโกวิท ยุพา ถาวรพิทักษ์ วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี ประเสริฐ ถาวรดุลสถิต พรทิพย์ คำพอ พรวิภา ดีศรี วงศา เลาหศิริวงศ์ สุวิทย์ อินนามมา และศิขิน รัตนทิพย์. 2548. ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยังคงสืบทอดในด้านการกินอาหารของหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 20(2): 70-76.

กุสุมา ศรียากูล. 2549. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงส์ปทุมมาวาส จังหวัดปทุมธานี. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 4(3): 106-107.

เจนจบ ยิ่งสุมล. 2555. สารานุกรมสมุนไพรไทย. สถาพรบุ๊คส์, กรุงเทพฯ. 288หน้า.

ใจเกื้อ ระติสุนทร สุภาพ ไทยแท้ และอุไรวรรณ บวรธรรมจักร. 2557. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังใจต่อพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาวัยรุ่น. วารสารเกื้อการุณย์ 21(2): 139-154.

เชาวลักษณ์ ฤทธิสรไกร. 2550. สังคมศาสตร์สาธารณสุข. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา. 113 หน้า.

ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์. 2554. เชาวน์ปัญญากับการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 13(1): 27-30.

นวรัตน์ บุญภิละ. 2559. วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอาหารของชาวผู้ไทในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 224-234.

นันทวัน ใจกล้า สายใจ จารุจิตร และเสาวภา เล็กวงษ์. 2554. ผลการใช้รางจืดร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการได้รับสารเคมี เข้าสู่ร่างกายในผู้ที่มีผลการตรวจสารเคมีในเลือดระดับอันตราย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 22(2): 50-60.

ปาณบดี เอกะจัมปกะ และนิธิศ วัฒนมะโน. 2554. การสาธารณสุขไทย 2551-2553. กรุงเทพฯ. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ, กรุงเทพฯ. 533 หน้า.

ปานจิต วรรณภิระ และวิโรจน์ วรรณภิระ. 2546. การออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 12(3): 87-95.

ปิยนุช ยอดสมสวย. 2556. การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. ธรรมศาสตร์เวชสาร 13(2): 212-217.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. 2548. การดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเองด้วยสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี. 223 หน้า.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. สามเจริญพาณิชย์. กรุงเทพฯ. 464 หน้า.

ภโวทัย พาสนาโสภณ. 2559. สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 27(1): 120-131.

ยลดา ศรีเศรษฐ์ กนกวรรณ จารุกำจร และวรัญญา จตุพรประเสริฐ. 2560. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาเอ็นอ่อน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 13(1): 1-10.

เยาวเรศ สมทรัพย์ และฐิติพร อิงคถาวรวงศ์. 2557. การดูแลสุขภาพแบบทางเลือกและแบบผสมผสานของ สตรีตั้งครรภ์ไทยในภาคใต้. วารสารสภาการพยาบาล 29(2): 114-126.

รัตนะ บัวสนธ จุรีรัตน ประวาลลัญฉกร รพีพร ศรีติมงคล วันดี ทับทิม และมลฤดี โภคศิริ. 2555. วิถีชีีวิตดานสุขภาพไทยทรงดําจากวันวาน สู่ยุคสุขภาพพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 14(1): 17-28.

รุจินาถ อรรถสิษฐ และกมลทิพย์ สุวรรณเดช. 2559. คู่มือ “แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 118 หน้า.

รุจินาถ อรรถสิษฐ เอนก ศิริโหราชัย และสมศิริ ยิ้มเมือง. 2548. ขวัญ: ขวัญชีวิตของคนไทย. กระทวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. 64 หน้า.

เรณู เหมือนจันทร์เชย. 2556. ทุนวัฒนธรรมไทยทรงดำกับการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของชุมชน. ดำรงวิชาการ 12(2): 175-202.

ละเอียด แจ่มจันทร์ สุรี ขันธรักษ์วงศ์ สุนทร หงส์ทอง และนพนัฐ จำปาเทศ. 2557. การแพทย์แผนไทยกับการบริบาลมารดาหลังคลอดในชุมชนภาคกลาง. วารสารพยาบาลทหารบก 15(2): 195-202.

อาภาพร เผ่าวัฒนา สุรินธร กลัมพากร สุนีย์ ละกำปั่น และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. 2554. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น. 266 หน้า.