ความเต็มใจจ่ายของผู้ใช้บริการต่อคุณลักษณะพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่สีเขียว ถือเป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ที่สามารถบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตคนในเมืองได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ประเมินความพึงพอใจและความเต็มใจจ่ายของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณลักษณะของพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 ตัวอย่าง ใช้เทคนิคแบบจำลองทางเลือก ซึ่งผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ต้องการให้มีการปลูกไม้โตเร็วมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างจะให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียวที่มีการติดป้ายชื่อต้นไม้ มีการเพิ่มโซนพิเศษ และมีแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยการเปลี่ยนแปลงเป็นคุณลักษณะดังกล่าว พบว่าผู้ใช้บริการมีความยินดีจ่าย 29.45 บาท/คน/ครั้ง ของการเข้าใช้บริการพื้นที่สีเขียว และการมีพื้นที่ไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้น จะทำให้ผู้ใช้บริการมีความยินดีจ่ายเท่ากับ 6.50 บาทต่อการเพิ่มพื้นที่ไม้ยืนต้น 10 ไร่ ดังนั้นภาครัฐ และสำนักสวนสาธารณะ ควรพิจารณาเพิ่มพื้นที่ไม้ยืนต้น ติดป้ายชื่อต้นไม้ เพิ่มแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มโซนพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะที่ผู้ใช้บริการต้องการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้บริการพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครต่อไป
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
นิคม บุญญานุสิทธิ์ และ Kung Shiann-Far. 2557. บทบาทของโครงสร้างพื้นฐานเขียวในการปรับตัวของท้องถิ่นไทย เพื่อการตั้งรับภัยพิบัติจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. วารสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 7(2): 132-143.
ปุณยนุช รุธิรโก. 2556. ความยั่งยืนในการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง. วารสารสุทธิปริทัศน์ 27(84): 55-76.
รัตน์ษา ชัยนัด และ ศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ. 2559. สภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสตามโครงการคนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกัน เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น
9(5): 80-90.
วิสาขา ภู่จินดา และดวงรัชนี เต็งสกุล. 2559. การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการจัดการทรัพยากรชุมชนตามหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกไม้งาม ตำบลศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 313-325.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2548. การจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: สวนสาธารณะ. รายงานการวิจัย.กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ. 208 หน้า.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. 2560. ฐานข้อมูลและระบบติดตามการเพิ่มพื้นที่สีเขียวประเภทสวนสาธารณะ และสวนหย่อมในกรุงเทพฯ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://203.155.220.118/green-parks-admin//reports/chartbygardentype_parks7.php (3 เมษายน 2560).
อุบลรัตน์ หยาใส่ และ จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. 2557. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 233-244.
De la Barrera, F., S. Reyes-Paeckeb and E. Banzhaf. 2016. Indicators for green spaces in contrasting urban settings. Ecological Indicators 62: 212-219.
Hanemann, W. M. 1984. Welfare evaluations in contingent valuation experiments with discrete responses. American Journal of Agricultural Economics 66: 332-341.
Holmes, T. P. and W. L. Adamowicz. 2003. Attribute-based methods. pp. 171-219. In: P.A. Champ, K. J. Boyle, T. C. Brown, (eds.). A Primer on Nonmarket Valuation. Kluwer Academic Publishers, Dordrecht.
Jennings, T. E., S. R. Jean-Philippe, A. Willcox, J. M. Zobel, N. C. Poudyal and T. Simpson. 2016. The influence of attitudes and perception of tree benefits on park management priorities. Landscape and Urban Planning 153: 122-128.
Rose, J. M. and M. C. J. Bliemer. 2013. Sample size requirements for stated choice experiments. Transportation 40: 1021–1041.
Xiuhua Song, Xinbo Lv and Chuanrong Li. 2014. Willingness and motivation of residents to pay for conservation of urban green spaces in Jinan, China. Acta Ecologica Sinica 35: 89-94.
Train, K. E. 2009. Discrete Choice Methods with Simulation. 2nd ed. Cambridge University Press, Cambridge. 388 p.