ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อบรรเทาความขัดแย้งระหว่าง คนกับช้างบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

Main Article Content

วิกานดา ใหม่เฟย
แหลมไทย อาษานอก

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร 381 คนที่ประสบปัญหาในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรเกือบทั้งหมดที่ปลูกสับปะรดมาตั้งแต่บรรพบุรุษประสบปัญหาพืชผลได้รับความเสียหายโดยช้างป่าเพราะเป็นพืชที่ช้างชอบกิน และพื้นที่ทำการเกษตรอยู่กั้นกลางพื้นที่ป่าสองฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย เส้นทางเดินเพื่อหาแหล่งน้ำและอาหารตามธรรมชาติของช้าง เกษตรกรส่วนใหญ่จึงเต็มใจและเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรแต่ก็ยังประสบปัญหาด้านเงินทุนเช่นเดียวกับเกษตรกลุ่มที่เหลือที่มีความต้องการแต่ขาดแคลนเงินทุน โดยรูปแบบการใช้ที่ดินที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ มีศักยภาพและสอดคล้องกับทัศนคติของเกษตรกรคือ การปลูกยางพารา มะนาว และการเลี้ยงโคนม หรือโคเนื้อแบบผสมผสาน

Article Details

How to Cite
[1]
ใหม่เฟย ว. และ อาษานอก แ. 2018. ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อบรรเทาความขัดแย้งระหว่าง คนกับช้างบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (พ.ค. 2018), 63–86.
บท
บทความวิจัย

References

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.

โดม ประทุมทอง ประทีป ด้วงแค มงคล คำสุข และกาญจนา นิตยะ. 2550. ประชากรของช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 14 (1): 30-40.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

ปัณจพร บัวบาน อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ และนภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว. 2559. ประสิทธิผลของการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบริเวณพื้นที่ชายขอบป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 23: 21-32.

รัชนี โชคเจริญ และรองลาภ สุขมาสรวง. 2555. นิเวศวิทยาของช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 19(1): 13-22.

รัตนะ วงษาโรจน์. 2560. พาช้างไปเขาตะกรุบ. วารสารมณีบูรพา มูลนิธิ อนุรักษ์ป่า รอยต่อ ๕ จังหวัด 10(42): 18-25.

สมหญิง ทัฬหิกรณ์ ตะวัน สีทอง เจริญชัย โตไธสง และสถาพร ทองปั้น. 2554. โครงการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ด้วยกระบวนการศึกษาวิจัย. รายงานวิจัย. Wildlife Yearbook 13: 87-94.

สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย. 2550. เทคนิคการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง. แสงเมืองการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 56 หน้า.

Desai, A. A. and H. S. Riddle. 2015. Human-elephant conflict in Asia. U.S. Fish and Wildlife Service and Asian Elephant Support. 92 p.

Srikrachang, M. 2008. Managing of human-elephant conflict in Thailand: governmental perspectives. PP. 107-108: In. proceedings of the 15th Congress of FAVA. 27-30 October 2008, Bangkok.

Wanghongsa, S., K. Boonkird, Y. Senatham, D. Saengsen, S. Buangarm and Y. Cochalee. 2007. Monitoring of elephant population dynamics in Khao Ang RuNai Wildlife Sanctuary. Wildlife conservation office. Department of National Park,Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. 90p.