จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วันเพ็ญ ควรสมาน
วิภาดา มุกดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ สถานการณ์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ สถานการณ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตลักษณะของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับจริง ได้แก่ ปัจจัยจิตลักษณะเดิม ประกอบด้วย สุขภาพจิต วิถีชีวิตแบบพุทธ และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ส่วนปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์ ประกอบด้วย ความเชื่ออำนาจในตนและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ ส่วนสถานการณ์ ประกอบด้วย การได้รับการตอบสนองต่อสิ่งที่ต้องการด้านร่างกาย และการได้รับการตอบสนองต่อสิ่งที่ต้องการด้านจิตใจ ส่วนปัจจัยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้านความพึงพอใจในชีวิต ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย และด้านอัตมโนทัศน์ 2) มีความสัมพันธ์ทางบวกที่ระดับนัยสําคัญ 0.01

Article Details

How to Cite
[1]
ควรสมาน ว. และ มุกดา ว. 2018. จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 1 (พ.ค. 2018), 1–21.
บท
บทความวิจัย

References

เกวลี เครือจักรและสุนทรี สุรัตน์. 2558. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคมและ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตําบลแม่จัน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 161-171.

จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทรและ ไพฑูรย์ พิมดี. 2554. จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคกลางตอนบนในประเทศไทย. วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 21(2): 436-446.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2543. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ. 199 หน้า.

น้ำเพชร สุขเพ็ง. 2558. จิตลักษณะความมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออำนาจในตน ทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยม 12 ประการในข้าราชการทหาร. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ 7(1): 4-17.

มนตรี ประเสริฐรุ่งเรืองและ ดุษฎี อายุวัฒน์. 2559. การสร้างทางเลือกในการพึ่งพาตนเองอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุรุ่นใหม่. วารสารประชากร 4(2): 23-45.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2553. รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2552. เอสเอส พลัส มีเดีย, นนทบุรี. 147 หน้า.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2556. การทำงานของผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 43 หน้า.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2556. วิเคราะห์สถานการตัวชี้วัดหรืองานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพจังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, นครราชสีมา. 35 หน้า.

อุษา วงษ์อนันต์ และสุปาณี สนธิรัตน. 2552. อัตมโนทัศน์ การสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ 9(2): 40-46.

Yamane, T. 1976. Statistics: An Introductory Analysis. Harper & Row, New York. 289 p.

Zhan, L. 1992. Quality of life: Conceptual and measurement issues. Journal of Advance Nursing. 17(7): 759–800.