การบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

พีระ รัตนวิจิตร
กัณยกร อัครรัตนากร
นัทกาญจน์ รัตนวิจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา โดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) ระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถม 2) ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โดยผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก จำนวน 5 สถานศึกษา และดำเนินการ 3 กิจกรรมย่อย คือ (1) ศึกษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารฯ การพัฒนาค่านิยมหลักฯ (2) สังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมของครูผู้สอน  (3) สัมภาษณ์ระดับลึกผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก เครื่องมือที่ใช้ขั้นตอนที่ 1 คือ ฉบับที่ 1–4 ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) สังเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และการพัฒนาค่านิยมหลักฯ 2) ยกร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ คือ คู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 3) สนทนากลุ่ม เพื่อพิจารณาร่าง การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ 4) ตรวจสอบคุณภาพร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ 5) ทดลองใช้ (Try Out) ร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ กลุ่มเป้าหมายผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก เครื่องมือที่ใช้ขั้นตอนที่ 2 คือ ฉบับที่ 5–10 ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) ศึกษาผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบฯ ดำเนินการ 2 กิจกรรมย่อย (1) ศึกษาผลการพัฒนาค่านิยมหลัก (2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 2) ศึกษาผลการเผยแพร่การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ กลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์การเลือก เครื่องมือที่ใช้ขั้นตอนที่ 3 คือ ฉบับที่ 9–10 สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัย ตามขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักฯ พบว่า 1) ความคิดเห็นส่วนใหญ่ว่าผู้เรียนขาดการพัฒนาค่านิยมหลักจากการจัดกิจกรรมที่ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ขาดความต่อเนื่อง กิจกรรมพัฒนาไม่หลากหลาย 2) ผลการศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) พบว่า แนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ผลการศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นฯ พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การร่วมวางแผน (2) การร่วมปฏิบัติ (3) การร่วมติดตาม (4) การร่วมสะท้อนผล และการพัฒนาค่านิยมหลักฯ ของผู้เรียน กลุ่มแรก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 ค่านิยมหลักข้อ 1, 3, 8 กลุ่มที่สอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ค่านิยมหลักข้อ 2, 4, 11 ใช้วิธีการพัฒนา 4 กิจกรรม 2) ได้ร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นฯ และเอกสารประกอบร่าง คือ คู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ 3) ผลการสนทนากลุ่ม พิจารณาร่างการบริหารฯ และเอกสารประกอบร่างฯ มีการรับรอง 4) ร่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ และเอกสารประกอบร่างฯ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ 5) ผลทดลองใช้ร่างฯ มีคุณภาพ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 ขั้นตอนที่ 3 ผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นฯ และเอกสารประกอบฯ พบว่า 1) ผลการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ ผู้เรียนมีผลการพัฒนาค่านิยมหลักหลังการพัฒนา เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้สูงสุด (เชิงพัฒนา) คือ ระดับดีเยี่ยม 2) ผลความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดสวนแตง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
รัตนวิจิตร พ., อัครรัตนากร ก., & รัตนวิจิตร น. (2025). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อพัฒนาค่านิยมหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 212–225. https://doi.org/10.14456/issc.2025.92
บท
บทความวิจัย

References

Phoyen, k. (2015). The Effects of Using Model of Concept Learning for Development Ethics by Sufficiency Economy for Ethics in Professional Teacher of the Student in Facucty of Education Silpakorn University. Journal of education silpakorn university, 12(1), 149–154. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/94945/74185

Ministry of Education. (2002). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendment (No. 2) B.E. 2545 (2002) with related ministerial regulations and Compulsory Education Act B.E. 2545 (2002).

. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทศพล ธีฆะพร. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในเครือข่าย ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดอุทัยธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2556). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัชพงศ์ มีแก้ว. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มลำเหย อำเภอดอนตูม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันทนา แสนจำลาห์. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านบึง “มนูญวิทยาคาร” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยบูรพา.

นุชา สระสม. (2560). การมีส่วนร่วมใน “การบริหารแบบบ้าน วัด โรงเรียน” ของโรงเรียนวัด สังกัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประชา แก้วสวัสดิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระครูปริยัติธรรมวงศ์. (2557). การพัฒนาสังคมไทยบนฐานพุทธธรรม : ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา.

รุ่งอรุณ เขียวพุ่มพวง. (2557). กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก. เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

โรงเรียนวัดสวนแตง. (2560). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2560. โรงเรียนวัดสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี.

. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2561. โรงเรียนวัดสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี.

วัชระ มะรังศรี. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วีรพงษ์ คล้อยดี. (2558). “กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.” วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 6(2), 157–167.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (2557). เอกสารการขับเคลื่อนค่านิยมหลัก 12 ประการสู่

การปฏิบัติในสถานศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2551). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของนักเรียน”.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554–2558) ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). พิมพ์ครั้งที่ 2. ออฟเซ็ท พลัส.

อรทัย ก๊กผล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชน : คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Hutsell, James D. (2013). “School Board Member Perception on Their Roles and Responsibilities in Seveloping Policy that Affects Student Achievement.” Dissertation Abstracts International. 70(09), 284.

Lewin, Kurt. (1996). “Field. Theory and Leaning Ind.” Cartwright Field Theory in Social Science : Selected Theoretical. New York : Harper and Row.