การพัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ด้วยเทคโนโลยี QR Code ในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย 2) ศึกษาความต้องการระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของเกษตรกร
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย 3) สำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ของเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 4) พัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์และประเมินความเหมาะสมของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่
1) ผู้บริโภคที่ซื้อหรือสนใจผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัย จำนวน 400 ราย 2) เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จำนวน 10 ราย และ 3) ผู้บริโภคที่ใช้งานระบบฯ ที่ซื้อหรือสนใจผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัย จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสำรวจพฤติกรรม ความต้องการใช้งานของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ 2) แบบสัมภาษณ์
3) แบบสำรวจผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ในอำเภอพนมสารคาม และ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมต่อการใช้ระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยผลการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะพบว่า
ระยะที่ 1 ผลการสำรวจความต้องการใช้งานของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคที่ซื้อหรือสนใจผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการใช้งานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน .42 ระดับความต้องการมาก
ระยะที่ 2 ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่และเกษตรกรพบว่าข้อมูลในปัจจุบันที่มีการจัดเก็บยังไม่ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐาน และต้องการให้มีการเผยแพร่ข้อมูลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ข้อมูลพื้นฐานเกษตรกร บรรยากาศ กิจกรรม จุดเด่น และช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสื่อออนไลน์ ผ่านการใช้งาน QR Code เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานข้อมูล
ระยะที่ 3 ผลการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 พบว่ามีเกษตรกรที่ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จำนวน 54 ราย จากทั้งหมด 5 ตำบลในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระยะที่ 4 ผลการพัฒนาและศึกษาความเหมาะสมของระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 ด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยดำเนินการจัดทำระบบสารสนเทศ ตามกระบวนการขั้นตอนการพัฒนาระบบพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน (System Development Life Cycle: SDLC) พัฒนาโดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลบนเว็บ ภาษา
ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์นี้ได้แก่ HTML5, PHP และ Bootstrap เพื่อรองรับการปรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เป็นต้น เผยแพร่ระบบสารสนเทศส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บนโดเมนเนมชื่อ www.pak8riew.com ผลการประเมินความเหมาะสมพบว่ามีความเหมาะสมของการใช้งานระบบโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ระดับความเหมาะสมมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยสูง ปี 2560 จังหวัดฉะเชิงเทรา.
จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. (2556). การประยุกต์ใช้บาร์โค้ดสองมิติ (2D Barcode) เพื่อการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 183-193.
ชิดชนก ศาสตรานนท์. (2550). แผนกลยุทธ์เพื่อการสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้ากลุ่มผักและผลไม้. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. https://dric.nrct.go.th/direct_fulltext.php?bid=DRL001819&file=5215000107.pdf
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. อมรการพิมพ์.
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2563). Digital Marketing Concept & Case Study. ไอดีซี พรีเมียร์.
ดวงใจ ธรรมนิภานนท์. (2557). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ความงามผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น). สำนักงานวิจัยแห่งชาติ. https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14458/NTU.res.2014.18
ธัญญลักษณ์ พลวัน และคณะ. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี QR Code ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิศวกรรมสาร มก. 27(88), 29-40.
นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 17). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทศา ผุงเพิ่มตระกูล และชุติมา ไวศรายุทธ์. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ และสุธน โรจน์อนุสรณ์. (2551). e-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์. พงษ์วรินการพิมพ์.
วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์. (2559). การตลาด QR Code. วารสาร K SME Inspired. 10(37), 48-49.
อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล. (2554). Digital Marketing ไอเดียลัดปฏิวัติการตลาด. กรุงเทพธุรกิจ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฮาบิบ บิณอะฮมัด, อับดุลมายิ มูดอ และมารีแย สนิแจ๊ะนะ. (2557). การพัฒนาระบบติดตามผลิตภาพการผลิตโดยใช้รหัส
คิวอาร์ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ. มหาวิทยาลัยนราธิวาส.