กลยุทธ์การสร้างสรรค์รูปแบบเนื้อหาและการสื่อสารการตลาด ข่าวเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ปี 2566 ของ สำนักข่าวออนไลน์ กรณีศึกษา รายการ THE STANDARD

Main Article Content

นันทวิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป
ณัชชา พัฒนะนุกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์รูปแบบเนื้อหาข่าวการเลือกตั้ง และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดข่าวการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี 2566 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของ รายการ THE STANDARD โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหาของ รายการ THE STANDARD ช่วงก่อนการเลือกตั้งฯ วันที่ 21 มีนาคม -13 พฤษภาคม 2566 จำนวน 4 รายการ คือ 1) รายการ Secret Sauce ช่วงพิเศษ The next leader  2) รายการ Yes or No 3) รายการ This or That  และ 4) THE STANDARD DEBATE: END GAME เกมที่แพ้ไม่ได้ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตข่าวออนไลน์ 3 คน  และกลุ่มนักวิชาการด้านการสื่อสารการเมือง 2 คน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลยุทธ์การสร้างสรรค์รูปแบบเนื้อหาข่าวการเลือกตั้ง ของ รายการ THE STANDARD 1.1 การนำเสนอผ่านรูปแบบรายการดังนี้ 1) รายการข่าวปกติรายวัน (routine) 2) รายการสัมภาษณ์ผู้สมัครแต่ละพรรคการเมือง 3) รายการเฉพาะกิจที่รายงานผลเลือกตั้งในวันจริง มี 2 รูปแบบคือรายการที่ออนแอร์ทาง Facebook และ YouTube เพื่อรายงานผลเกาะติดเหตุการณ์จนจบ และช่องทางเว็บไซต์ของรายการ มีการรายงานผลแบบ Real Time เพิ่มรูปแบบเกมให้คนได้เล่น สร้างความดึงดูดใจให้อยู่กับรายการตลอดเวลา 4) รายการดีเบต (ก่อนถึงวันเลือกตั้ง) 5) รายการช่วงสั้น ๆ ทางสื่อ TikTok ในรูปแบบตอบคำถาม 1.2) วิเคราะห์เพื่อวางแผนสร้างสรรค์เนื้อหารายการตั้งแต่รูปแบบรายการที่นำเสนอข่าวการเมืองในอดีต จุดแข็ง จุดอ่อนของรายการ 1.3) ยึดหลักผู้ชมในรายการเป็นศูนย์กลาง (audience centric) 1.4) เน้นการสื่อสารสองทางกับคนรุ่นใหม่และกิจกรรมที่สร้างกระแสในสื่อออนไลน์ 1.5) การสร้างพื้นที่ข่าวการเลือกตั้งฯ ในทุกแพลตฟอร์มทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เนื้อหาเข้าถึงและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น

            2.กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดข่าวการเลือกตั้ง ฯ คือ 1) การวางตำแหน่งของผู้สมัครและพรรคการเมืองที่เหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหารายการในเครือของ THE STANDARD  2) การสำรวจข้อมูลความคิดเห็นพฤติกรรมของผู้ชมรายการทางสื่อสังคมออนไลน์ตลอดเวลา เพื่อเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญในการปรับเนื้อหารายการให้อยู่ในความสนใจของผู้ชมตลอดเวลา รวมถึงการสำรวจการนำเสนอเนื้อหาของสำนักข่าวออนไลน์คู่แข่งด้วย 3) มีแผนกลยุทธ์และการปฏิบัติ 2 แผนหลัก แผนที่ 1  คือ เนื้อหาพรีเมียมสำหรับพรรคการเมืองใหญ่ กับแผนที่ 2 คือ การนำเสนอเนื้อหาข่าวการเลือกตั้งในฐานะสื่อมวลชนสำหรับพรรคระดับกลางถึงระดับเล็ก 4) การวัดความสำเร็จของการสื่อสารการตลาดข่าวการเมือง คือ 1. กระแสความนิยมที่คนจะพูดถึงรายการ เนื้อหาที่ได้นำเสนอออกไป และ 2. ยอดวิวแบบเรียลไทม์ทางสื่อออนไลน์ คือ  YouTube Facebook  TikTok ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ รวมไปถึง platform อื่น ๆ

Article Details

How to Cite
ตั้งแสงประทีป น., & พัฒนะนุกิจ ณ. (2024). กลยุทธ์การสร้างสรรค์รูปแบบเนื้อหาและการสื่อสารการตลาด ข่าวเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ปี 2566 ของ สำนักข่าวออนไลน์ กรณีศึกษา รายการ THE STANDARD. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(3), 216–233. https://doi.org/10.14456/issc.2024.57
บท
บทความวิจัย

References

แก้วเกล้า บรรจง. (2561). การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง “การสื่อสารชุมชน”.ภาพพิมพ์.

อาทิตยา สมโลก และจิรัชยา เจียวก๊ก. (2563). กลยุทธ์การจูงใจและวาทกรรมของป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งปี 2562

ในจังหวัดปัตตานี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(2), 166-180. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/245246/166248

บุญชิรา ภู่ชนะจิต. (2566). สื่อสังคมออนไลน์ต่อการรณรงค์ทางการเมือง. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2), 204-219. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSJ/article/view/265175/178112

เสถียร เชยประทับ. (2540). การสื่อสารกับการเมือง: สังคมประชาธิปไตย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิจิตรา สึคาโมโต้. (2561). สื่อไทยในวิกฤตการเมืองเปลี่ยนผ่าน เทคโนโลยีปั่นป่วน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563, 6 กันยายน). ตัววัดผล Social Media สำคัญที่นักการตลาดต้องรู้.https://www.popticles.com/marketing/social-media-key-metric-for-marketer/

Dataxet:infoquest. (2566, 23 พฤษภาคม). ฟังเสียงโซเชียลช่วงเลือกตั้ง “ก้าวไกล” สุดฮอต กระแสนำโด่งทั้งคนทั้งพรรค.

https://www.dataxet.co/insight-social-trends-thailand-election-2023.

สำนักข่าวทูเดย์. (2556, 18 เมษายน). นโยบายทำข่าวเลือกตั้ง 66. https://workpointtoday.com/today-election/

ลลิตพรรณ นุกูลวัฒนวิชัย. (2559). การตลาดทางการเมือง : ศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรค

ประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 122-144. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/article/view/113675/88360

บุญชิรา ภู่ชนะจิต, (2566). สื่อสังคมออนไลน์ต่อการรณรงค์ทางการเมือง. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2),

-219. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSJ/article/view/265175/178112

ภาคภูมิ หรรนภา. (2564). การสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งปี 2562. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 37-51 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/407/246

The Standard, (2566, 21 พฤษภาคม). Yes or No เลือกตั้ง 66 กับ “พิธา”. https://www.youtube.com/shorts/pmDMeptRvYc

Harad, K. (2016, 12 May). Don't avoid content marketing: How to turn your excuses into action Financial. https://www.onefpa.org/journal/Pages/JUL16-Don%E2%80%99t-Avoid-Content-Marketing-.aspx.

Harold D. Lasswell. (1966). The Structure and Function of Communication in Society.In Public Opinion and Communication. Free press.

Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101. https://www.tandfonline.com/doi/epdf/10.1191/1478088706qp063oa

Safranek, R. (2012, 22 August). The Emerging Role of Social Media in Political and Regime Change. https://www.academia.edu/11859835/ArticleReview

Christina Nerberry. (2022, 12 May). 16 Key Social Media Metrics to Track in 2023.https://blog.hootsuite.com/social-media-metrics/

Newman, B. I. (1994). The marketing of the president: Political marketing as campaign strategy. Sage.

Verba, S., & Nie, N. H. (1972). Participation in America: Political Democracy and Social Equality. Harper & Row.