หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิต

Main Article Content

ภูมิพงษ์ ดวงตั้ง
อธิคม ศิริ
อัญชลี ทิพย์โยธิน

บทคัดย่อ

หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิตเป็นการสื่อดิจิทัลนวัตกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่เพื่อการเข้าเยี่ยมชมสถานที่ในรูปแบบของโลกเสมือนจริงโดยผ่านแพลตฟอร์ม Metaverse spatial โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาหอปรัชญารัชกาลที่ 9 บนโลกจักรวาลนฤมิต โดยขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเริ่มจากการสร้างโครงสร้างอาคาร 3 มิติ โดยออกแบบจากแบบแปลนอาคารจริงทั้งภายในและภายนอกหลังจากนั้นทำการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อเก็บสำรองข้อมูลโครงสร้าง 3 มิติของอาคารหอปรัชญารัชกาลที่ 9 และออกแบบระบบเพื่อรองรับการอับโหลดข้อมูลขนาดใหญ่เข้าสู่แพลตฟอร์ม Metaverse spatial เพื่อเผยแพร่ให้สามารถเข้าใช้งานเพื่อเข้าเยี่ยมชมผ่านแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ เมื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาเรียบร้อยได้นำไปให้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากกลุ่มตัวอย่าง 50 พบว่าความพึงพอใจในระดับมากที่สุดอยู่ 4 ด้าน คือด้านการออกแบบและความสวยงาม ด้านการใช้งานและความทันสมัย ด้านความพร้อมของระบบ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.66 4.7 4.76 และ 4.72 ตามลำดับ และความพึงพอใจในด้านการความสมบูรณ์ครบองค์ประกอบของสถานที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก จากการประเมินความพึงพอใจหอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิตโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66

Article Details

How to Cite
ดวงตั้ง ภ., ศิริ อ., & ทิพย์โยธิน อ. (2024). หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายบนโลกจักรวาลนฤมิต. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(4), 63–78. https://doi.org/10.14456/issc.2024.62
บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี พรรณธิภา เพชรบุญมี และธนภรณ์ นาคนรินทร์. (2563). การส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากอำเภอเมืองถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผ่านเทคโนโลยีภาพเสมือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ. 4(1), 1–10.

จิตรนันท์ ศรีเจริญ ดวงจันทร์ สีหาราช และอนุพงษ์ สุขประเสริฐ. (2562). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5(1), 84–94.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ และ วีระยุทธ พิมพาภรณ์. (2565). พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อดิจิทัลต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวในบทบาทของความเชื่อมั่นในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 5(1), 50–60.

นิคม กงนะ และนารท ศรีละโพธิ์. (2566). จักรวาลนฤมิตกับอนาคตการศึกษาไทย. ครุศาสตร์สาร. 17(1), 1-10.

นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 10(1), 13-30.

ปิยพงศ์ เผ่าวณิช และพุฒิธร จิรายุส. (2566). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบการธุรกิจรยย่อยในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 6(4), 117–129.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2562). การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.6(1), 8–16.

พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม สุธิรา จันทร์ปุ่ม สุรเชษฐ์ เหลื่อมเภา และวินิจ สุขวงศ์. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบสุริยะจักรวาลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 101(2), 112–121.

ภัทรา เวชสวรรค์ และศรัณยา เลิศพุทธ. (2564). การสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี สำหรับนักท่องเที่ยวเจเนเรชั่นซีกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(3), 16–32.

รวิวิน ระวิวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มโลกเสมือน (Metaverse) เพื่อยกระดับแหล่งเรียนรู้และการบริการแห่งอนาคต. วารสารรัฏฐาภิรักษ์ 64(3), 32–41.

รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2542). การทำวิจัยทางการศึกษา. ที.พี.พรินท์.

วรรณศิลป์ ภู่เด่นใส และสุนันทา ศรีม่วง.(2560). การพัฒนาแอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีอัคเมนต์ เตดเรียลริตี้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 3(1), 63–69.

วุฒิไกร พิมพขันธ์ ภัสสร ปัทวงค์ และอภิรดี เดชพงษ์สัมฤทธิ์. (2564). การออกแบบและพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อส่งเสริมจิตสํานึกการอนุรักษณ์ช้างไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. 1(1), 53–64.

วันชนะ จูบรรจง วิไรวรรณ แสนชะนะ รุ่ง หมูล้อม และอภิชัย ซื่อสัตย์สกุลชัย. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดตากโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 11(1), 56–64.

สถาพร เกียรติพิริยะ, ศราวุฒิ บุษหมั่น, กมล เพชรอ้อน และ อัญชัญ ไชยวงศ์. (2563). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองด้วยเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(12), 436–450.

โอปอ กลับสกุล. (2566). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง กรณีศึกษาชุมชนรอบปราสาท ปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ. 7(7), 80–99.