รสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในกลุ่มพลเมืองอาวุโสชนชั้นกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงคการวิจัย: 1) เพื่อบรรยายและประเมินรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในกลุ่มพลเมืองอาวุโสชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการนันทนาการ และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทั้งทางตรง (Direct effect) ทางอ้อม (Indirect effect) หรือระหว่างกลาง (Mediation) และแบบกำกับ (Moderation) และผลรวม (Total effect)ระหว่างตัวแปรลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ พฤติกรรมการนันทนาการ การรับรู้ข่าวสาร และรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้ารวมทั้งการอนุมานผลการวิจัยในเชิงความสัมพันธ์ เหตุ-ผล สำหรับการกำหนดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในกลุ่มพลเมืองอาวุโส วิธีวิจัย: วิธีการวิจัยเอกสาร (documentary research) และการวิจัยเชิงสำรวจจากตัวอย่าง (sample survey research) จำนวน 200 ตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Intercorrelation) ด้วยการทดสอบ Chi-square และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลระหว่างตัวแปรต้น (Independent Variable) ตัวแปรแทรกกลาง (Mediator variables) ตัวแปรกำกับ (Moderator variables) และตัวแปรตาม (Dependent Variables) โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพลเมืองอาวุโสเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และสมรสแล้วมากที่สุด มีรายได้เฉลี่ย 59,653 บาท ต่อเดือน และส่วนใหญ่มีสุขภาพดี ส่วนตัวแปรสุขภาพมีความสัมพันธ์กับรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ผู้ที่มีสุขภาพที่ดีมีแนวโน้มมีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้ามากกว่าผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี อีกทั้งพลเมืองอาวุโสชนชั้นกลางที่มีสุขภาพที่ดีรายได้สูงได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก (Facebook) ชอบทำกิจกรรมนันทนาการนอกบ้านกับคู่สมรส มีแนวโน้มในการมีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: พลเมืองอาวุโสชนชั้นกลางที่มีรายได้สูงและสุขภาพดีได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ชอบทำกิจกรรมนันทนาการนอกบ้านมีแนวโน้มมีรสนิยมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
Armstrong, J. A., (1991). Prediction of Consumer Behavior by Experts and Novices. Journal of Consumer Research. 18(2), 251–256
Bank of Thailand. (2562). Opportunities and ways to support the Thai industrial sector in the transition to an aging society. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy /ArticleAndResearch /Pages/FAQ194.aspx
Berlo, K. D. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. Holt, Rinehart and Winston.
Bourdieu, P. (1994). Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste. Routledge.
Chondarong Tongsong. (2557). A Concept for Developing Slow Tourism in Thailand. Research Methodology & Cognitive Science.12(2), 1-12.
Chubb, M. &, Chubb, H. R. (1981). One third of our time? : An introduction to recreation behavior and resources. Wiley.
Dražen Marić and et al. (2020). Slow tourism consumers’ recommendations. TEME journal for social science. 6(4), 1429−1440.
McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory : An Introduction. Sage.
Nathabhol Khanthachai. (2557). “Article Review “Green, Samuel B.(1991). How Many Subjects Dose it Take to Do a Regression Analysis?” Multivariate Behavioral Research, 26(3): 499-510. Kasem Bundit Journal.15(1), 141-144.
Pansek Arthornturasook, Tienkaew Liemsuwan, Kanjana Boonyoung, & Shohei Ogawa. (2562). Models of Long stay Tourism at Thailand for the Japanese Elderly. Journal of Public Administration and Politics. 8(3), 71-93.
Royal Academy. (2565). Royal Institute Dictionary. https://dictionary.orst.go.th/.