ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาหลักสูตร Non-Degree
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาหลักสูตร Non-Degree 2) เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะมาพัฒนาหลักสูตร Non-Degree ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งมีประชากรที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 454 คนประกอบด้วย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ประธานหลักสูตร จำนวน 54 คนและบุคคลภายนอก ได้แก่ ประชาชนทั่วไปครอบคลุมทุกอำเภอในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามความต้องการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคลากรภายในซึ่งได้แก่ประธานหลักสูตรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 20,000 บาท มีความต้องการพัฒนาหลักสูตร
Non-Degree อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยอันดับแรกในแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ด้านประเภทของหลักสูตร ควรเป็นหลักสูตรประเภท Up-Skill, Re-Skill, New-Skill (2) ด้านลักษณะเนื้อหาของหลักสูตร ควรที่จะตอบสนองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (3) ด้านกลุ่มพัฒนาศักยภาพกำลังคน ควรที่จะพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) ด้านระยะเวลาของหลักสูตร ควรที่จะใช้ระยะเวลาในการพัฒนา 4 สัปดาห์ ขึ้นไป และ (5) ด้านการถ่ายทอดเนื้อหา ควรที่จะเน้นการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ ในส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคคลภายนอกหรือประชาชนทั่วไปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 20,000 บาท มีความต้องการพัฒนาหลักสูตร Non-Degree อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยอันดับแรกในแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ด้านประเภทของหลักสูตร ควรที่จะเน้นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน (2) ด้านลักษณะเนื้อหาของหลักสูตร ควรที่จะเน้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (3) ด้านกลุ่มพัฒนาศักยภาพกำลังคน ควรที่จะพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุ (4) ด้านระยะเวลาของหลักสูตร ควรที่จะใช้ระยะเวลาในการพัฒนา 2 สัปดาห์ และ (5) ด้านการถ่ายทอดเนื้อหา ควรที่จะเน้นการบรรยาย
จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาหลักสูตร Non-Degree ในทัศนะของบุคลากรภายในและบุคคลภายนอก มีความแตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อการกำหนดแนวนโยบายการพัฒนาหลักสูตร Non-Degree ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
โชคดี สกุลกวีพร. (2551). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทการจัดการศึกษาขององค์การ บริหารส่วนตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชไมพร วดีศิริศักดิ์. (2552). ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อบทบาทตามนโยบายการพัฒนาของเทศบาลตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชลธิชัย ยอดมูลดี. (2550). ความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สง่า ภูสีฤทธิ์. (2550). การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของสถานประกอบการในจังหวัดมหาสารคามที่มีต่อนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรทัย ชุ่มเย็น และรายวดี ผดุงกาญจน์. (2557). ระดับความคาดหวังและความพึงพอใจของหัวหน้างานที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการโรงแรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลกรุงเทพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. Cornell University Press.