การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สุรีย์พร พานิชอัตรา
ธงชัย ศรีเบญจโชติ

บทคัดย่อ

จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีสามารถผลิตทุเรียนได้มากที่สุดในประเทศ แต่เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ต้องประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น การรวมกลุ่มกันตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น การศึกษานี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตของเกษตรกรกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และวิเคราะห์ต้นทุน
การผลิตของเกษตรกรกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์
เชิงลึก (In-depth interview) จากเกษตรกรที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนหมู่ 5 ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 25 รายเกี่ยวกับการผลิต และต้นทุนการผลิตทุเรียน ในปีการผลิต 2565/2566 โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview)


ผลการศึกษาพบว่า


การผลิตและการดูแลบำรุงรักษาทุเรียน เกษตรกรมีกิจกรรมหลักได้แก่ การให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชซึ่งเกษตรกรนิยมใช้วิธีการตัดหญ้า ส่วนการกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในกรณีที่มี
การระบาดของศัตรูพืช สำหรับทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเกษตรกรจะเน้นในเรื่องของการเตรียมต้นให้มีความสมบูรณ์ซึ่งเกษตรกร
แต่ละรายมีการดูแลทุเรียนที่แตกต่างกันไป โดยเกษตรกรมีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรายละ 1,303.28 กิโลกรัมต่อไร่


เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตทุเรียนเท่ากับ 223,177.22 บาทต่อไร่ แบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่ 142,254.79 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 63.76 โดยมีค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดินในสัดส่วนสูงที่สุด และเป็นต้นทุนผันแปร 80,862.44 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.24 โดยมีค่าเสียโอกาสของตัวเกษตรกรในสัดส่วนสูงที่สุด ซึ่งต้นทุนการผลิตทุเรียนส่วนใหญ่เป็นต้นทุน
ที่มองไม่เห็น ซึ่งมีค่าเท่ากับ 186,303.84 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 83.50 เป็นต้นทุนที่มองเห็นเท่ากับ 36,813.38 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.50

Article Details

How to Cite
พานิชอัตรา ส., & ศรีเบญจโชติ ธ. (2024). การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(4), 15–33. https://doi.org/10.14456/issc.2024.59
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ ถิระพงษ์. (2560). นโยบายเกษตรแปลงใหญ่กับบริบทของภาคเกษตรไทยในปัจจุบัน. ใน อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 61 รอดหรือซึมยาว. การประชุมวิชาการระดับชาติสาขาเศรษฐศาสตร์. (น. 49-64). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.ecojournal.ru.ac.th/journals/23_1516971978.pdf.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). คู่มือการดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. http://www.agriman.doae.go.th/large%20plot%2059/t/03_kk(15%2012%2059X.pdf.

จันจิรา ศักดิ์ศรี และสปัญธ์หยก วีรบุญย์กฤช. (2564). ห่วงโซ่คุณค่าและแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 3(2), 40-60.

ธีรภัทร ทรัพย์ประเสริฐ และนิภาวรรณ กุลสุวรรณ. (2563). การประเมินต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการทําเกษตรกรรมในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม: กรณีศึกษาชุมชนลุ่มน้ำแม่พร่อง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิศวกรรมสาร มก. 33(109), 91-106.

น้อมจิตต์ แก้วไทย อันเดร กิตติภูมิ ศุภลักษณ์ปัญญา สุวิจักษณ์ ห่านศรีวิจิตร อภิญญา วณิชพันธุ์ ธันย์นรีย์ มราศิลป์ เจษฎา ร่มเย็น และอรอุมา สำลี. (2564). การจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลไม้ของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ประคุณ ศาลิกร และณัฐพงษ์ ปานขาว. (2562). การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศเชิงพาณิชย์ ณ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(2), 1–18.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2558). โครงการจัดทำต้นทุนผลผลิตและถ่ายทอดความรู้เพื่อลดต้นทุนการผลิตอ้อยของเกษตรกร ในปีเพาะปลูก 2557/58. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตนา สายคณิต และ ชลลดา จามรกุล. (2544). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตรา ล.เฉลิมชัยชนะ. (2541). เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น. ที พี เอ็น เพรส.

สาวิตรี วงศ์สุรเศรษฐ์. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนการปลูกซาโยเต้ของเกษตรกรในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(1), 655-663.

สิทธินันท์ วิวัฒนาพรชัย กมลรัตน์ ถิระพงษ์ และ พัชรี สุริยะ. (2565). การวิเคราะห์มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเลี้ยงโคขุน : กรณีศึกษาสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด. วารสารแก่นเกษตร. 50(2), 371–383.

สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (2566). ข้อมูลการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นการเกษตรแปลงใหญ่(ทุเรียน) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์].

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565, 19 กันยายน). ตัวชี้วัดเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย ปี 2564. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2565/indicator2564.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2567, 30 เมษายน). ผลผลิต ทุเรียน รายจังหวัด. https:// https://mis-app.oae.go.th/product/ทุเรียน

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6. (2562). การผลิต การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคทุเรียนและมังคุดอินทรีย์ในตลาดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. อิงค์เจ็ทดี.