การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้าสู่สังคมออนไลน์

Main Article Content

พิสิษฐ์ ชาญเจริญ
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา
จำเริญ คังคะศรี
นิสากร ยินดีจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้าสู่สังคมออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ สื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 คน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า สื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สถานีวิทยุชุมชน และหนังกลางแปลง ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านงบประมาณขาดทุนในการดำเนินการ ปัญหาด้านเทคโนโลยีขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยี มีปัญหาในการใช้แพลตฟอร์มบนสื่อออนไลน์ ปัญหาด้านระบบการทำงาน การทำงานยังไม่เป็นระบบ และปัญหาด้านลักษณะเนื้อหาที่เน้นข่าวสารในท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีปัญหาในการใช้ถ้อยคำใช้ภาษาไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ส่วนของสถานีวิทยุชุมชนมีปัญหาการโฆษณาพูดเกินจริง

  2. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และการเข้าสู่สังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้สื่อออนไลน์ สื่อมวลชนท้องถิ่นยึดถือจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นหลัก มีมาตรฐานและเกณฑ์ในการตัดสินใจคัดเลือกและตรวจสอบข้อมูลก่อนการนำเสนอข่าว และมีการใช้เครื่องมือสื่อออนไลน์อย่างเหมาะสม

  3. การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ทิศทางการปรับตัวของสื่อมวลชน คือ การเป็นต้นแบบที่ดีในการนำเสนอข้อมูล เป็นผู้นำเสนอความจริง การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลส่งผลให้สื่อออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลดึงดูดความสนใจผู้รับสารได้มาก การทำงานของสื่อมวลชนเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ สื่อมวลชนจึงต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารในสังคมออนไลน์และต้องผลิตเนื้อหาข่าวสารให้สามารถเข้าถึงความสนใจของผู้รับสารด้วยเช่นกัน

Article Details

How to Cite
ชาญเจริญ พ., แก้วตาธนวัฒนา ภ., คังคะศรี จ., & ยินดีจันทร์ น. (2024). การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้าสู่สังคมออนไลน์. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 42–57. https://doi.org/10.14456/issc.2024.24
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เกษม ศิริสัมพันธ์. (ผู้แปล). (2513). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน. เฟรด เอส ซีเบอร์ท, เธออดอร์ พีเตอร์สัน และวิลเบอร์ แซรม (ผู้แต่ง). โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ขจร ฝ้ายเทศ. (2560). “การหลอมรวมสื่อของสื่อมวลชนท้องถิ่น : กรณีศึกษาฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์เอทีวี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55. (31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2560). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ. (2550). เอกสารชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนิดา รอดหยู่. (2563). ข่าวในยุคสื่อดิจิทัล. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 16-33.

นิรมล ประสารสุข. (2553). เมื่อโซเชียลมีเดียเขย่าจอสื่อหลัก.. ใน รายงานประจำปี 2553 สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย. (น. 112). สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย.

ปวีณา ชูรัตน์ และอริน เจียจันทร์พงษ์. (2565). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจและบริการข่าวสารในยุคดิจิทัลของสื่อท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 10(1), 84-100.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). โครงการศึกษาวิจัยการปฏิรูปสื่อ เล่ม 1 “วิวัฒนาการและสถานภาพปัจจุบันของสื่อ โครงสร้างตลาดสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และสื่อใหม่ (New Media), วิวัฒนาการเทคโนโลยีของสื่อ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2554). สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุกัลยา คงประดิษฐ์. (2557). การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ขนาดกลางในประเทศไทยภายใต้ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กรณีศึกษา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ บ้านเมือง แนวหน้า และ ไทยโพสต์. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิสรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ใหม่ นาทองคำ. (2561). การปรับตัวของสื่อมวลชนในยุคทีวีดิจิทัล กรณีศึกษา สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2563). การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 43-57.

Boonyen. K. (2020). ยุค Disruption คืออะไร? สำคัญอย่างไร? ไขทุกข้อข้องใจของผู้คนที่อยากรู้. http://www.bizpromptinfo.com/ยุค-disruption-คืออะไร-สำคัญอย่าง/

Lasswell, H.D. (1948). The structure and function of communication in society. In L. Bryson (Ed.), The communication of ideas (pp. 37-51). Harper and Row.

Roy, Sr. C., & Andrews, H. (1999). The Roy adaptation model (2nd ed). Appleton and Lange.