วิธีการรับมือของพ่อแม่เมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการรับมือของพ่อแม่เมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่ที่มีบุตรศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 169 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ร้อยละของประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดวิธีการรับมือของพ่อแม่เมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ 0.93) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบแบบการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
1.วิธีการรับมือของพ่อแม่เมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการสนับสนุนและคำแนะนำ ด้านการสนับสนุนทางสังคมและข้อมูล ด้านการตอบโต้ ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านโทษตัวเอง และด้านข้อจำกัดของเด็ก โดยรวมอยู่ในระดับน้อย
2.เพศ อายุ รายได้ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการรับมือของพ่อแม่เมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมส่งเสริมสุขภาพจิต. (2563). บูลลี่ไม่ใช่เรื่องเด็ก ๆ ความรุนแรงที่รอวันปะทุ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30150.
ไชยชาญ เผือดคล้าย. (2565). แนวทางการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกกันในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาด้วยการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(1), 219-232. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/256325/174643
ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี และคณะ. (2558). กลยุทธในการแก้ปัญหาการถูกรังแกของเด็กนักเรียนระดับชั้ประถมศึกษาตอนปลาย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2565). การปรึกษาครอบครัว Family Counseling (พิมพ์ครั้งที่ 4). เนติกุลการพิมพ์.
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุกวิธีการจัดการปัญหาและพฤติกรรมเสี่ยง. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สมิทธิ์ เจือจินดา. (2563). ผลของโปรแกรมการให้คําปรึกษารายบุคคลเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมที่มีต่อการลดพฤติกรรมรังแกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุมณฑา หิ้มทอง.(2559). การสำรวจพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กปฐมวัยโดยผู้ดูแลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุฮัยณี อาหวังและคณะ. (2564). ผลกระทบจากพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียนในจังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อนุรักษ์ จันทร์รอด.(2565). การศึกษาความรุนแรงของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนในโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Joy Benatov. (2019). Parents’ Feelings, Coping Strategies and Sense of Parental Self -Efficacy When Dealing With Children’s. Victimization, 10(1), 20-39.