การวิเคราะห์แบบฝึกตะโพนขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์แบบฝึกตะโพนขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบฝึกการตีตะโพนของขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) วิเคราะห์กลวิธีการตีตะโพนตามแบบฝึกตะโพนของขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์)
ผลการวิจัยพบว่า
แบบฝึกตะโพนของขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) มีจำนวน 6 บท บันทึกด้วยระบบโน้ตสากล บรรทัด 3 เส้น ในแต่ละบทจะมีแบบฝึกที่มีกลวิธีการตีตะโพน ซึ่งเริ่มจากจังหวะหน้าทับที่ดำเนินไปในอัตราจังหวะแบบช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอ รูปแบบลีลาราบเรียบ จากนั้นจะเพิ่มอัตราจังหวะที่มีความเร็วมากขึ้น มีลีลาที่กระชับ ประกอบด้วย การตีหน้าทับแบบตรงจังหวะ ตีลักจังหวะ ตีย้อยจังหวะ การตีส่ายโดยมีรูปแบบการตีมือเดียวเสียงเดียว การตีมือเดียวสลับเสียง การตีสองมือเสียงเดียว การตีสองมือสลับเสียง ตลอดทั้งการตีแบบฝึกในอัตราจังหวะช้า เร็วสลับกัน มีรูปแบบการเรียบเรียงแบบฝึกตะโพนจากขั้นพื้นฐานสู่ขั้นสูง ได้แก่ การนั่งตี การฝึกการวางตำแหน่งของมือ การฝึกทำเสียง การประสมเสียง การบังคับมือ การฝึกความจำ ความแม่นยำ การใช้พละกำลังและกล้ามเนื้อให้มีการสอดประสานและสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการตีตะโพนกับการบรรเลง การขับร้องและการแสดงในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2538). พฤติกรรมการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ เจียรดิษฐ์อาภรณ์. (2535). ตำราตะโพนขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์) อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ
นายสมพงษ์ นุชพิจารณ์. เรืองแก้วการพิมพ์.
ประสงค์ จันทพันธุ์. (2556). หน้าทับเพลงชุดโหมโรงเย็นกรณีศึกษาครูบุญช่วย แสงอนันต์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูโม ปลื้มปรีชา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2556). ทฤษฎีวิเคราะห์เพลงไทย. สันติศิริการพิมพ์.
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องการบันทึกเสียงเพลงไทย : กรณีศึกษาแผ่นเสียงร่องกับทาง. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ศุภวิชญ์ คราประยูร. (2556). ศึกษาหน้าทับเพลงหน้าพาทย์ตระโหมโรง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2530) เด็กและดนตรีไทย ในดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 18. ภาพพิมพ์.
สหวัฒน์ ปลื้มปรีชา. (2557). หน้าทับไม้ประดน : กรณีศึกษาการใช้หน้าทับกับกลุ่มเพลงหน้าพาทย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.