การพัฒนาบุคลากรด้านการให้บริการของธุรกิจสปา เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้บริการของบุคลากรของธุรกิจสปา 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางด้านคุณภาพการให้บริการของบุคลากรของธุรกิจสปา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการให้บริการของธุรกิจสปา เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้เคยใช้บริการธุรกิจสปา ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนจึงได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรการคำนวณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ความผิดพลาดไม่ เกิน 5% และสัดส่วนของประชากร เท่ากับ 0.50 ทำให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 ราย ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจสปา จำนวน 10 ราย และพนักงานผู้ให้บริการในธุรกิจสปา จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การให้บริการของบุคลากรของธุรกิจสปา ประกอบด้วย ความเป็นรูปธรรมของบริการ การตอบสนองต่อลูกค้า การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การรู้จักและเข้าใจลูกค้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.09
- 2. ปัญหาและอุปสรรคทางด้านคุณภาพการให้บริการของบุคลากรของธุรกิจสปา พบว่า การขาดแคลนพนักงานสปาที่มีฝีมือและมีใบรับรองมาทำงาน การใช้ภาษาต่างประเทศของพนักงาน ไม่มีความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด การบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ และปัญหาด้านการควบคุมคุณภาพในการบริการ
- แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการให้บริการของธุรกิจสปา เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ได้แก่ การพัฒนาภาษาต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการและพนักงานผู้ให้บริการในธุรกิจสปา ผู้ประกอบการธุรกิจสปาจะต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการสปาเพื่อสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุข การพัฒนาพนักงานผู้ให้บริการให้มีความรู้ในศาสตร์ด้านสปาอย่างแท้จริง และการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพการให้บริการที่ดีให้กับพนักงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567, จากhttps://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
กันยาวีร์ เมฆีวราพันธุ์ (2556). ตัวแบบการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจสปา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(2), 90-103.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) พ.ศ.2560-2569. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษจิกายน 2566, จาก https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf
ชนิตา เดชวิทยานุศักดิ์. (2555). การบริหารจัดการบริการสปาเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 8(2), 100-101.
ธนพงษ์ ร่วมสุข. (2564). กรณีศึกษาการจัดการความเสี่ยงในธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 7(2), 34-51.
ณัฐพล ลีลาวัฒนาพันท์. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7622.
เบญจวรรณ ศฤงคาร และสันติกร ภมรปฐมกุล. (2563). การศึกษาความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับมาตรฐานการให้บริการของธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 43-55.
ภักดี กลั่นภักดี, อัศวิน แสงพิกุล และศิริเดช คำสุพรหม. (2563). การพัฒนาธุรกิจสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลในประเทศไทยสู่ความยั่งยืน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1147-1156.
มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ยศวดี แขวัฒนะ และเสาวนีย์ สมันตรีพร (2558). การพัฒนาธุรกิจสปาสู่ความยั่งยืน: วิธีการทางจิตวิทยาสู่ความยั่งยืน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 174-84.
สารี ประชุมดี และทศพล ลือชาพัฒนพร. (2562). คุณภาพการให้บริการของร้านสปาที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศรปทุม ชลบุรี, 16(1), 133-142.
แสงอรุณ วรากุลศิริศักดิ์ และอุมาวรรณ วาทกิจ. (2564). คุณภาพการบริการที่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารแบบบอกต่อของธุรกิจสปา ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 87-99.
สุณีย์ ล่องประเสริฐ. (2557). การพัฒนามาตรฐานธุรกิจสปาในเกาะสมุยสู่ชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ, วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(1), 25-141.
เอกนันท์ ทองแย้ม. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกใช้ธุรกิจสปา. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(3), 49-55.
Basheer Abbas Al-alak Ghaleb Awad EL-refae, The Relationships between Service Quality, Satisfaction, and Behavioral Intentions of Malaysian Spa Center Customers. International Journal of Business and Social Science, 3(1), 20- 34.
Cochran, W. G. (1953). Matching in analytical studies. American Journal of Public Health and the Nations Health, 43(6), 684-691.
Lagrosen, Y., & Lagrosen, S. (2016). Customer perceptions of quality–a study in the SPA industry. European Business Review, 28(6), 657-675.
Latham, G. and Wexley, K. (1991). Developing and Training Human Resources in Organization. Harper Collins Publishers.
Lee, H., Lee, Y., & Yoo, D. (2000). The determinants of perceived service quality and its relationship with satisfaction. Journal of services marketing, 14(3), 217-231.
Mondy, R. W., & Noe, R. M. (1996). Human Resource Management (Edisi VI).
Swanson, R. A. (1995). Human resource development: Performance is the key. Human resource development quarterly, 6(2), 207-213.
Trihas, N., & Konstantarou, A. (2016). Spa-goers’ characteristics, motivations, preferences and perceptions: Evidence from Elounda, Crete. Almatourism-Journal of Tourism, Culture and Territorial Development, 7(14), 106-127.
Vryoni, S., Bakirtzoglou, P., & Ioannou, P. (2017). Customers’ satisfaction and service quality of spa centers in Greece. Acta Kinesiologica, 11(1), 12-18.
Zeithaml, V., Parasuraman, A., & Berry, L. (1990). Balancing Customer Perceptions and Expectations. Ed. Free Press. EE. UU.