กลยุทธ์การจัดจำหน่ายเสาวรสในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาการจัดจำหน่ายเสาวรส ในอำเภอเขาค้อจังหวัดเพชรชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดจำหน่ายเสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดการจัดจำหน่ายเสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การพยากรณ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุ 30 – 39 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อาชีพลูกจ้างบริษัทเอกชน ส่วนมากมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท
- ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (7Ps) กลยุทธ์การจัดจำหน่ายเสาวรส มีระดับการตัดสินใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด มีด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ
- ผลวิเคราะห์ข้อมูลการกระจายสินค้าเสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ การกระจายสินค้าเสาวรส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ห้างสรรพสินค้า ทางโทรศัพท์ ร้านขายของที่ระลึกในจังหวัดเพชรบูรณ์ ทางอินเทอร์เน็ต สถานีขนส่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ศูนย์ผลิตของที่ระลึก งานแสดงสินค้าในจังหวัดเพชรบูรณ์ ศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอป และถนนคนเดินในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามลำดับ
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการจัดจำหน่ายเสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ Sig. เท่ากับ .030 ด้านราคา Sig. เท่ากับ .000 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย Sig. เท่ากับ .000 ด้านบุคคล Sig. เท่ากับ .043 ด้านกระบวนการ Sig. เท่ากับ .033 ด้านลักษณะทางกายภาพ Sig. เท่ากับ .020 มีผลต่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
- การกระจายสินค้าเสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอป Sig. เท่ากับ .000 งานแสดงสินค้าในจังหวัดเพชรบูรณ์ Sig. เท่ากับ .000 Sig. เท่ากับ .0001 ทางโทรศัพท์ Sig. เท่ากับ .000 ทางอินเทอร์เน็ต Sig. เท่ากับ .000 ถนนคนเดินในจังหวัดเพชรบูรณ์ Sig. เท่ากับ .0001 ห้างสรรพสินค้า Sig. เท่ากับ .000 มีผลต่อการกระจายสินค้าเสาวรส ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กัญชรา บุญสุวรรณโชติ. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าร้านโครงการหลวงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(1), 169-180.
ฉัตยาพร เสมอใจ และมัทนียา สมมิ. (2548). การจัดการและการตลาดบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
ณัฐวดี พรหมปัญญา. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บัญชา สมบูรณ์สุข, วันชัย ธรรมสัจการ, ศศิวิมล สุขบท, อังคณา ธรรมสัจการ, ธีรศักดิ์ จินดาบถ, ศรัณยู กาญจน สุวรรณ, และ พิไลวรรณ ประพฤติ. (2556). โครงการระบบตลาดผักและผลไม้ไทยในประเทศมาเลเซียสิงคโปร์ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. รายงานฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
พรทิพย์ จตุพรพิมล. (2550). พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากสถานที่จัดจำหน่ายผลผลิตมูลนิธิโครงการหลวงในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัชนีกร อุตตมา. (2553). ช่องทางการจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษของเกษตรกร ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รูซีตา แซ. (2555). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพใน เขตพื้นที่จังหวัดยะลา. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิภาวี สุริโย. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำผัก-น้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุชาดา ธรรมสอน. (2560). ช่องทางการจัดจำหน่ายเสาวรสในระบบ GAP ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.