แนวทางการดำเนินคดีและการเยียวยาในคดีทางการแพทย์

Main Article Content

ทรงพร ประมาณ
ทรัพยสิทธิ์ เกิดในมงคล
ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงวิธีการระงับข้อพิพาททางแพ่งและอาญาทางศาลและเปรียบเทียบ       การระงับข้อพิพาทแบบไกล่เกลี่ย รวมทั้งข้อเสนอแนะในการเยียวยาทางการแพทย์ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสาร


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ในวิธีการระงับข้อพิพาทในคดีทางการแพทย์นั้น ควรจะถูกระงับโดยกระบวนการทางศาล ที่ผ่านผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย ซึ่งการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความนั้นไม่อาจถูกระงับหรือแก้ไขได้อย่างถูกต้องนัก เพราะในขั้นตอนสุดท้ายการบังคับให้เกิดการปฏิบัติตามพันธะสัญญาก็ยังคงต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรมทางศาล


            2) ในการระงับข้อพิพาททางอาญา เมื่อแพทย์กระทำผิดจริงตามกฎหมายควรได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาท ไม่ควรได้รับการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมเนื่องจากจากผู้ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ ผู้ป่วย นั่นเอง


            3) ในการระงับข้อพิพาททางแพ่ง แพทย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย ย่อมต้องชดใช้หรือเยียวยาให้เหมาะสมตามความร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ

Article Details

How to Cite
ประมาณ ท., เกิดในมงคล ท., & อิทธิมีชัย ฐ. (2024). แนวทางการดำเนินคดีและการเยียวยาในคดีทางการแพทย์. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(3), 24–34. https://doi.org/10.14456/issc.2024.41
บท
บทความวิจัย

References

กันพงศ์ แสงพวง. (2564). กระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ขวัญชัย โชติพันธุ์. (2558). คดีทางการแพทย์ เล่ม 2. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2565). หลักกฎหมายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ดวงกมล ศรีประเสริฐ. (2561). อำนาจแพทย์ และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย. วารสารธรรมศาสตร์,37,(1), 78-95. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tujo/article/view/119827/91555

ทิพย์วรรณ เดชะผล. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทนอกศาลในคดีอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นพพร โพธิรังสิยากร. (2559). ความรับผิดทางกฎหมายของแพทย์จากการรักษาพยาบาล: ทุรเวชปฏิบัติ. ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข.

ปาจรีย์ สำราญจิตต์. (2561). แนวทางจัดการแก้ไขปญหาความเสียหายทางการแพทย์: ความปลอดภัยผู้ป่วยและระบบการชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด. วารสารกฎหมายสุขภาพแลละสาธารณสุข, 4(2), 230-231.

ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน และภัทราวุธ ฉวีนิล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในการบริการสาธารณสุขในประเทศไทย. วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์, 3(1), 22-49.https://so06.tcithaijo.org/index.php/SLJ/article/view/241564/166687

แสวง บุญเฉลิมวิภาศ. (2565). นิติเวชศาสตร์และกฎหมายการแพทย์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). วิญญูชน.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2565). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 9). วิญญูชน.

วิชาดา ใจงาม. (2563). ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองความรับผิดของแพทย์จากการให้บริการสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2561). กฎหมายการแพทย์สมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). วิญญูชน.

วารี นาสกุล. (2559). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ: ละเมิด จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์กรุงสยามพับลิชชิ่ง.

อรรถพงศ์ ทิพย์อักษร. (2561). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการแพทย์ก่อนฟ้องคดี. วารสารนิติพัฒน์ นิด้า, 7(2), 29-50.https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nitipat/article/view/175124/125287

อานนท์ จำลองกุล. (2565). กฎหมายและจริยธรรมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.