การสร้างความยั่งยืนของเขตเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษา จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อรูปเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ และปัจจัยด้านกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการก่อรูปของเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ของจังหวัดจันทบุรี ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ การวิจัยในดุษฎีนิพนธ์ใช้แนวทางการวิจัยแนวสหวิทยการแบบข้ามพ้นสาขา ซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดแบบองค์รวม วิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวมานุษยวิทยาเชิงพื้นที่ (Area-based study) เป็นการศึกษาเอกสารทั้งเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง รวมถึงการสัมภาษณ์ทั้งการสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า และการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ผู้ประกอบการล้งรับซื้อลำไย เจ้าของร้านขายปุ๋ย ยา และชนชั้นนำท้องถิ่น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์เชิงชาติพันธุ์วรรณา เพื่อสร้างข้อสรุปของการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
การก่อรูปและปัจจัยด้านกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อการก่อรูปของเศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่ของจังหวัดจันทบุรี คือการค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรตที่ทำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูการโดยไม่ต้องพึ่งอากาศหนาวเย็น และการเข้ามาของทุนจีนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งทำให้เศรษฐกิจลำไยในพื้นที่ใหม่เกิดความไม่ยั่งยืน ดังนั้นจึงควรมีแนวทางในการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยใหม่ในจันทบุรีผ่านกลไก 3 กลไก คือ กลไกชุมชน คือ การสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจลำไยบนฐานการเป็นเกษตรกรรายย่อย กลไกรัฐ คือ การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการทำสัญญาซื้อขายลำไยระหว่างชาวสวนลำไยและล้งให้มีความเป็นธรรม และกลไกการตลาด คือ การขยายตลาดภายในเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคลำไยมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2564, กันยายน 12). สินค้าลำไย และผลิตภัณฑ์. https://api.dtn.go.th/files/v3/614426c0ef4140f58030092f/download
เกรียงไกร สุภโตษะ. (2562, มิถุนายน 28). ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน https://www.doa.go.th/psco/wp-content/uploads/2020/06/ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสด-Sep-2019.pdf
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). ตำราวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ภัคภณ ศรีคล้าย. (2558, กรกฎาคม 22). “ลำไยนอกฤดูเงินล้าน” กับออร์กาเนลไลฟ์. http://paccapon.blogspot.com/2015/07/blog-post_22.html
วิภาวี เอี่ยมวรเมธ. (2558, กันยายน 12). ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์. Academia. https://www.academia.edu/20548414/
วิวัฒน์ ศัลยกำธร. (2562). กสิกรรมธรรมชาติ การแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ “แบบคนจน” (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์คอกหมู.
ศุภวดี มนต์เนรมิต. (2559). “ผู้จัดการสวนลำไย” การปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมในกระแสโลกาภิวัตน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562, กันยายน 12). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร: ข้อมูลปริมาณและมูลค่าการส่งออกลำไยสด. https://www.oae.go.th/view/
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564, กรกฎาคม 22). “รมช.มนัญญา” รุดแก้ปัญหาส่งออกลำไยไปจีนหารือล้งจันทบุรี. รัฐบาลไทย. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44947
สุพาณี ธนีวุฒิ. (2556, กรกฎาคม 22). ปัญหาลำไย ปัญหาของชาติ. ประชาไท. http://prachatai. com/journal/2009/07/25223
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภาพร ช่างถม. (2562). การศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตการออกดอกและผลผลิตของลำไยในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพ และพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2554). บูรพาภิวัตน์ : ภูมิ-รัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลกใหม่ . สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.