แนวทางการพัฒนาระบบประกันสุขภาพเอกชนที่เป็นธรรม : กรณีศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ปรทิพย์ จันทร์แจ่มศรี
ธันวา จิตต์สงวน
อดิศร กุลวิทิต
ขวัญศิริ เจริญทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของระบบประกันสุขภาพเอกชนในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบประกันสุขภาพเอกชนตามแนวคิดในมิติสหวิทยาการ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบประกันสุขภาพเอกชนที่เป็นธรรม โดยใช้การวิจัยแนวสหวิทยาการ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงผสมผสาน โดย 1) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 28 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สาระ 2) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สอบถามผู้เอาประกันภัยจำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


            ผู้เอาประกันภัยซื้อประกันสุขภาพเอกชนโดยไม่มีความรู้เรื่องมูลค่าเงินตามเวลา และปกปิดข้อมูลสุขภาพ ตัวแทนประกันชีวิตขายประกันสุขภาพเอกชนโดยไม่อธิบายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าเงินตามเวลา ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตออกแบบเอกสารเบี้ยและผลประโยชน์ประกันภัยโดยไม่แสดงข้อมูลมูลค่าเงินตามเวลา และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ถูกต้องตามสัญญา โรงพยาบาลเอกชนรักษาพยาบาลเกินมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์ และดำเนินงานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเบิกค่าสินไหมทดแทนไม่ถูกต้อง ดังนั้น จึงต้องปรับปรุงหลักการและความรับผิดชอบของกลุ่มผู้มีผู้ส่วนได้ส่วนเสียโดยบูรณาการกับองค์ความรู้สหวิทยาการ โดยแนวทางการพัฒนาระบบประกันสุขภาพเอกชนที่เป็นธรรม ประกอบด้วย 1) ต้องพัฒนาผู้เอาประกันภัยด้านความรู้เรื่องประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลงทุน และสร้างความตระหนักเรื่องความสุจริตอย่างยิ่งของผู้เอาประกันภัย 2) ต้องกำกับดูแลตัวแทนประกันชีวิตด้านความรู้เรื่องการลงทุนประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และสร้างระบบการบังคับใช้จรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต 3) ต้องสร้างกระบวนการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันชีวิตให้เป็นไปตามสัญญา และผลิตสัญญาประกันสุขภาพเอกชนที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์พื้นฐานของสัญญาตามกฎหมาย  และ 4) ต้องกำกับกระบวนการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์ และดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ครบถ้วน ถูกต้อง

Article Details

How to Cite
จันทร์แจ่มศรี ป., จิตต์สงวน ธ., กุลวิทิต อ., & เจริญทรัพย์ ข. (2024). แนวทางการพัฒนาระบบประกันสุขภาพเอกชนที่เป็นธรรม : กรณีศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 158–171. https://doi.org/10.14456/issc.2024.33
บท
บทความวิจัย

References

กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2566, 13 มีนาคม). การอ่าน : การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (วัฒนธรรมเลี้ยงลูกด้วยหนังสือ : วัฒนธรรมสร้างชาติ). http://dept.npru.ac.th.

จิตรา เพียรล้ำเลิศ. (2564, 8 กรกฎาคม). หน่วยที่ 8 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด. https://www.stou.ac.th.

ณุศณี มีแก้วกุญชร. (2561, 8 กรกฎาคม). บทที่ 6 มูลค่าเงินตามเวลา. เอกสารประกอบการสอนคณะวิทยาการจัดการิมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ.

ธันวา จิตต์สงวน. (2561). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนา. เอกสารประกอบการสอนสาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รุ่งอรุณ จันทร์พูล. (2566, 4 มกราคม). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนประกันชีวิต หลักสูตรขอต่อใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 3). http://www.oic.or.th.

โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี แผนกบริหารทรัพยากรมางการแพทย์. (2564). ผลประกอบการของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีส่วนงานประกันสุขภาพเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรทางการแพทย์ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2564.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธ์. (2564). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 24). วิญญูชน.

สถาบันไทยพัฒน์. (2564, 1 พฤษภาคม). Corporate Governance (CG). https://thaicsr.com.

สถาบันประกันภัยไทย. (2564). คู่มือเสริมความรู้และเตรียมสอบขอรับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต. สถาบันประกันภัยไทย.

สถาบัน ThaiPHA. (2564,3 มีนาคม). หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 บทที่ 3 มูลค่าเงินตามเวลา.https://www.thaipha.org.

สมาคมประกันชีวิตไทย. (2562, 6 พฤษภาคม). รื้อระบบประกันสุขภาพ. https://www.tlaa.org.

สมาคมประกันชีวิตไทย. (2561). เวชศาสตร์การประกันสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ.

สรพลจ์ สุขทรรศนีย์. (2560). คำอธิบายกฎหมายลักษณะประกันภัย ศึกษาแบบเรียงมาตรา (พิมพ์ครั้งที่ 12).วิญญูชน.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2561, 4 มกราคม). แผนพัฒนาการประกันภัยฉบับ 3 (พ.ศ.2559-2563). https://www.oic.or.th.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน 2563).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานงบประมาณของรัฐสภา. (2561, 8 เมษายน). รายงานวิชาการสำนักงานประมาณของรัฐสภา ฉบับที่ 7/2560 ภาระงบประมาณรายจ่ายสำหรับการบริการสุขภาพ.https://www.parliament.go.th.

อธิวัฒน์ ศุภสวัสดิ์วัชร และงามตา เขมะจิโต. (2564,10 เมษายน). บทที่ 4 การจัดการค่าสินไหมทดแทนประกันภัย คู่มือปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนประกันวินาศภัย. https://www.oic.or.th.

Bergthold, Linda. (2020, 1 August). Medical Necessity: Do we need it. https://www.healthaffairs.org.

Pettinger, Tejvan. (2023, 6 October). Cost-Benefit Analysis Definition. https://www.economicshelp.org.

United Nation. (2023, 9 April). The Sustainable Development Goals Report 2023 (Special Edition). https://unstats.un.org/sdgs/report/2023.