ความรู้ความเข้าใจและทักษะการปฏิบัติงานบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของกำลังพลในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

สาโรช พลพินิจ
เบญจพร โมกขะเวส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพรายงานการเงินของกำลังพลในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพรายงานการเงินของกำลังพลในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 113 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจสังกัด กองบัญชีและสำนักงานตรวจสอบภายใน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05


         ผลการวิจัยพบว่า


         ความรู้ความเข้าใจ ด้านข้อมูล และทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงิน ทั้งด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้และด้านการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความรู้ความเข้าใจ ด้านความใส่ใจมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้และด้านความเข้าใจได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (ตามลำดับ) แต่ไม่ส่งผลต่อด้านการเปรียบเทียบกันได้ ส่วนความรู้ความเข้าใจ ด้านหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติทางการบัญชีมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ไม่ส่งผลต่อด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและด้านการเปรียบเทียบกันได้ และทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงิน ด้านเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่ส่งผลต่อด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและด้านความเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ความรู้ความเข้าใจ ด้านการพัฒนา และทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านวิชาชีพบัญชี ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินทั้ง 4 ด้าน ด้านความเข้าใจได้ ด้านเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทีบกันได้   

Article Details

How to Cite
พลพินิจ ส., & โมกขะเวส เ. (2023). ความรู้ความเข้าใจและทักษะการปฏิบัติงานบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของกำลังพลในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 143–161. https://doi.org/10.14456/issc.2023.50
บท
บทความวิจัย

References

กรมบัญชีกลาง. (2563, 2 ตุลาคม). หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0410.2/ว479 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2563 เรื่อง รูปแบบการนำเสนอรายงานการเงินของหน่วยงานของรัฐ.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2547, 5 สิงหาคม). ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2547

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงการคลัง. (2564, 20 เมษายน). ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชี ภาครัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564.

กรรณิกา เหมือนรักษา. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำรายงานการเงินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. เอกสารศึกษาหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 51, วิทยาลัยการตำรวจ

กองอัตรากำลัง สำนักงานกำลังพล. (2564). คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งข้าราชการตำรวจ กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุนและกลุ่มงานเทคนิค (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564).

กัลย์ธีรา สุทธิญาณวิมล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมุมมองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตภาคเหนือ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กุลวดี ลิ่มอุสันโน. (2559). ความรู้ความเข้าใจของนักบัญชีไทยต่อมาตรฐานการรายงานการเงินสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2562). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

จิรภัทร์ มั่นคง. (2561). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการและพนักงานการเงินและบัญชีกรมการเงินทหารบกที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงิน. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณพนณัฐ คำมุงคุณและกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ. (2566). สมรรถนะของนักบัญชีและการยอมรับนวัตกรรมการบัญชีส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงินในเขตภาคตะวันออก. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 8(1), 159-169.

นันท์นภัส รักเดชะ. (2563). คุณลักษณะและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นภา จันทรา. (2557). ความรู้และความเข้าใจของผู้ทำบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสีย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภาศรี เหลือถนอม. (2557). ผลกระทบของกระบวนการจัดทำบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของสหกรณ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (6 กันยายน 2552). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนที่ 65 ก หน้า 1-18.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (9 ตุลาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก หน้า 1-14.

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565. (16 ตุลาคม 2565).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอน ที่ 64 ก หน้า 1-80.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545. (2 ตุลาคม 2545). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก หน้า 1-13.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. (19 เมษายน 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 27 ก หน้า 1-22.

ภัทราพร อุระวงษ์. (2563). ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]., มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/index.php

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ฉบับปรับปรุง Volume 2015) ฉบับที่ 3 (ฉบับปรับปรุง) เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก – ทักษะทางวิชาชีพ. https://www.tfac.or.th/upload/9414/eq6p8RJwV0.pdf

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สมชาย บุญศรี. (2559). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ 7 กรณีของผู้ประกันตนที่มาใช้บริการสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชาติ อนุกูลเวช. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติทางเทคนิคบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Gagne', Robert M. & Briggs, Leslie J. (1979). Principles of instructional design (2nd ed). Holt, Rinehart and Winston.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Houghton Mifflin.

Millet, John D. (1954). Management in the Public Sector: The Quest for Effective Performance.McGraw-Hill Book Company.

Gagne, Robert M. (1970). The Condition of Learning. Holt, Rinchart and Winston.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3 edition) . Harper and Row Publication.