การศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

กฤษณะ โสขุมา
อภิชาติ ลือสมัย
ภัทรพร ตัสโต
เกศินี โสขุมา

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร    2) ทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของหลักสูตร  และ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี จำนวน 80 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้  แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร  และแบบวัดทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) หลักสูตรพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.81, S.D. = 0.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิธีดำเนินการฝึกอบรม ( = 4.86, S.D. = 0.13) ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (  = 4.83, S.D. = 0.32)  ด้านเนื้อหาของหลักสูตร (  = 4.78, S.D. = 0.22)  และด้านการประเมินผล ( = 4.75, S.D. = 0.31)


            2) ประสิทธิภาพของหลักสูตรการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่  21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเท่ากับ 87.22/82.58


            3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรเท่ากับ 0.7038 แสดงว่า ครูผู้สอนคณิตศาสตร์มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7038 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.38

Article Details

How to Cite
โสขุมา ก., ลือสมัย อ., ตัสโต ภ., & โสขุมา เ. (2023). การศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น . วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 233–244. https://doi.org/10.14456/issc.2023.57
บท
บทความวิจัย

References

จันทรรัตน์ จาดแห และปริญญภาษ สีทอง (2565). หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กลวิธีการสอนแบบดี อาร์ ที เอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสาร มจร. บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 153 – 165.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรลักษณ์ คำหว่าง และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 129 – 138.

วนิดา เขจรรักษ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู โดยใช้การบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M127909/Kejornrak%20Vanida.pdf

วัชรี กาญจน์กีรติ. (2554). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สมศักดิ์ คงเทศ. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของครูในสถานศึกษา ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). Digital literacy คืออะไร. https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2564, 30 เมษายน). คุณภาพชีวิตสังคม: 5 'ทักษะสมรรถนะ' พัฒนาครูในยุคดิจิตอลแพลตฟอร์ม. กรุงเทพธุรกิจ, https://www.bangkokbiznews.com/social/935435.

Cradler, J., McNabb, M., Freeman, M., & Burchett, R.. (2002). How does Technology Influence Student Learning?. Learning & Leading with Technology. 29(8), 46-49.

National Council of Teachers of Mathematics (NCTM).(2000). Principles and standards for school mathematics. NCTM.