ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ศึกษากรณีโทษปรับทางอาญา

Main Article Content

กฤษฎี รักษาทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา ความหมาย แนวความคิด ทฤษฎีหลักการบังคับใช้กฎหมายการขุดดินและถมดิน ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้มาตรการทางอาญา รวมถึงศึกษาบทความ เอกสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายดังกล่าว


               ผลการวิจัยพบว่า


               การเปรียบเทียบปรับของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้เป็นดุลพินิจเจ้าพนักงานท้องถิ่นทำการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งเป็นการให้อำนาจการใช้ดุลพินิจที่กว้างเกินไป ประกอบกับ   ไม่มีวิธีการ หลักเกณฑ์กำหนดอัตราค่าปรับไว้ชัดเจนทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมายปฏิบัติงานได้โดยยาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนความผิดของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์และอัตราโทษปรับยังไม่เหมาะสม และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายอีกด้วย 


               ข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้เห็นควรยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 มาตรา 42 ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่น เพื่อถ่วงดุลพินิจการเปรียบเทียบปรับของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 33 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อลดภาระงานของพนักงานสอบสวน เกิดความรวดเร็วเป็นธรรมต่อระบบกระบวนการยุติธรรมและส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
รักษาทรัพย์ ก. (2024). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ศึกษากรณีโทษปรับทางอาญา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 133–146. https://doi.org/10.14456/issc.2024.31
บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (20 ธันวาคม 2564). โครงการศึกษา วิเคราะห์ และการแปลกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน.การศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียดกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดินของประเทศไทยประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศญี่ปุ่นประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย. http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/doc_other/7.pdf

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2552). มาตรฐานการเปรียบเทียบปรับ. http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/8/8.html

กานดา ปานดำ. (2557). การบังคับโทษปรับ : ศึกษากรณีบังคับให้ทำงานแทนค่าปรับ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

เบญจนารา จันนาวัน. (2565). การกำหนดโทษปรับตามร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียว พ.ศ. ..... ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23(น.371-381). มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/23rd-grc-2022/HMO9/HMO9.pdf

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (7 มีนาคม 2477). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 598.

ประมวลกฎหมายอาญา. (13 พฤศจิกายน 2477). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 95 หน้า 1-15.

พิณทิรา ทวีปัญญายศ. (2555). อำนาจในการบังคับโทษปรับและมาตรการทดแทนโทษปรับของพนักงานสอบสวน : ศึกษา กรณีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543. (25 กุมภาพันธ์ 2543). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 16 ก หน้า 1-13.

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496. (2496). (17 กุมภาพันธ์ 2496). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 70 ตอนที่ 14 หน้า 222.

ร้อยตำรวจเอกกริช เพ็ชรสิมาลัย. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 : ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดที่มีโทษทางอาญา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริกาญจน์ รัตนสุวรรณชาติ. (2549). โทษปรับ : ศึกษากรณีการใช้มาตรการอื่นมาเสริมและแทนการปรับ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.