มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาประมงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

Main Article Content

อาทิตยา โภคสุทธิ์
ขวัญศิริ เจริญทรัพย์
พิมุข สุศีลสัมพันธ์
วิชา มหาคุณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการ
การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมต่อการทำประมงของไทย และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนของไทย วิธีวิทยาการวิจัยใช้การศึกษาแนวสหวิทยาการ
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประมง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการประมงประจำจังหวัด และชาวประมงในพื้นที่


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้การทำการประมงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกประสบปัญหาในเชิงปฏิบัติการของการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติ มีข้อกำหนดการทำประมงที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวประมง ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้มีเวลาในการเตรียมการ และไม่มีการช่วยเหลือทางการเงินตามแนวคิดการชดเชยในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของรัฐ 
2) การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืนของไทย ควรมีเป้าหมายหลักคือเพื่อการส่งเสริมการทำประมงของไทยให้มีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยเจตนา ส่งเสริมสนับสนุนผู้ทำการประมงให้ได้รับความสะดวกและได้รับการคุ้มครองในการประกอบอาชีพ ได้รับการชดเชยในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของรัฐ มีการจัดระเบียบการประมงให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ประกอบด้วย การบริหารจัดการด้านการประมง การทำการประมงในน่านน้ำไทย มาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการ การควบคุมเฝ้าระวัง สืบค้นและตรวจสอบ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรการทางปกครอง และบทกำหนดโทษ

Article Details

How to Cite
โภคสุทธิ์ อ., เจริญทรัพย์ ข., สุศีลสัมพันธ์ พ., & มหาคุณ ว. (2024). มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาประมงชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 70–82. https://doi.org/10.14456/issc.2024.26
บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. (2558). แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย

ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม พ.ศ. 2558 – 2562. https://www4.fisheries.go.th/doffile/fkey/ref17314.

กรมประมง. (2561). จรรยาบรรณในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ.https://www.fisheries.go.th/law/web2/images/internationnal/.

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2561). เอกสารประกอบการอธิบายแนวปฏิบัติในการรองรับสิทธิชุมชนที่เชื่อมโยงกับ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุมสิน ชมชูชื่น. (2561). นโยบายการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวประมง

ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วารสารรามคำแหงฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 1(1), 27-48.

พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ. (2561). รายงานวิจัยเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขการทำประมง

ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม : กรณีศึกษาพื้นที่ภูมินิเวศน์อ่าวตราด จังหวัดตราด. คณะรัฐศาสตร์

และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภรมาภา อุดมวัฒน์ทวี. (2559). โทษทางอาญาตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญา

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์. (2563). EU-IUU หลุมพรางการพัฒนาการทำประมงอย่างยั่งยืน : กรณีประเทศไทย.

https://thaipublica.org/2020/12/wicharn-eu-iuu01/

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย

(Regulatory Impact Analysis).สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

อัศวิน แก้วพิทักษ์. (2563). ผลกระทบของโลกาภิวัตน์และบทบาทของรัฐที่มีต่อการพัฒนาทุนนิยมประมงไทยในภาค

ตะวันออก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำไพ หรคุณารักษ์ และกาญจนา ย่าเสน. (2560). รายงานวิจัยโครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน

บริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย เป้าหมายที่ 14 ชีวิตใต้น้ำ (Life Below Water). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).