ความสำเร็จ ล้มเหลว และความท้าทายของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนำไปสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรวุฒิ วีระวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุเรื่องการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเชิงความสำเร็จและล้มเหลวของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของหน่วยงานราชการอื่น ๆ การวิจัยนี้เพื่อศึกษา 1) ทราบวิธีการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และความล้มเหลว ในการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพความสำเร็จ และแนวทางการแก้ไขความล้มเหลว ของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ผู้สูงอายุที่ได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลโดยที่หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า


ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จ ล้มเหลว และความท้าทายของการนำนโยบาย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ไปปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้านการดูแลเรื่องความเป็นอยู่และการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ด้านจำนวนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และอยู่ในระดับปานกลางในด้านโครงสร้างการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
วีระวัฒน์ ว. (2024). ความสำเร็จ ล้มเหลว และความท้าทายของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนำไปสู่การปฏิบัติของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 137–147. https://doi.org/10.14456/issc.2024.12
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ หอนงาม. (2551). ความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. กระทรวงมหาดไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3) สุวีริยาสาสน์

ประสิทธ์ สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์,

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2561). ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab: Gov Lab). เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

พรอนันต์ กิตติมั่นคง. (2547). การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2545-2550 คิวพี จำกัด.

วิชุดา สาธิตพร, และคณะ. (2560) . การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมผ่านนโยบายสวัสดิการสังคม: กรณีศึกษาการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน,10(1), 23-44.

ศิริกัญญา แก่นทอง. (2548). ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักการแพทย์. (2557). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร.

หมัดเฟาซี รูบามา และคณะ. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.(น.1888-1894). นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

อาคม หลำเบ็นสะ. (2551). ความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของประชาชนชุมชน เขต 4 เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อุชุกร เหมือนเดช. (2552). ความต้องการในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี