พฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์กับการสร้างอัตลักษณ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

กิรษา หอมเสียง
สุกัญญา บูรณเดชาชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงสื่อออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2) เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์กับการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 396 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 25,753 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายปิดและเปิด สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมปสิทธิ์สหสัมพันธ์


ผลการวิจัยพบว่า                                    


  1. ช่องทางที่มีการเปิดรับมากที่สุดคือ ช่องทาง Facebook เพจข่าวบันเทิง/ส่วนตัวของนักแสดง

  2. ระดับความรู้สึกต่อการสร้างอัตลักษณ์ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.57) และ

            3. การสร้างอัตลักษณ์ภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์ในระดับมาก (r = .600) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าการสร้างอัตลักษณ์นั้นมีผลมาจากการรับรู้หรือพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์นั่นเอง

Article Details

How to Cite
หอมเสียง ก. ., & บูรณเดชาชัย ส. (2024). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์กับการสร้างอัตลักษณ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 40–50. https://doi.org/10.14456/issc.2024.4
บท
บทความวิจัย

References

กิติยา สุริวรรณ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดผู้บริดภคตราสินค้า. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(3), 23-34.

ชนัญชิดา คำมินเศก. (2553). การรับรู้สื่อรณรงค์ Quit Line 1600 สายเลิกบุหรี่และความคิดเห็นของข้าราชการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชุติมา ผิวเรืองนนท์. (2559). สื่อใหม่และเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). ทฤษฎีองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช

ณัฐวิโรจน์ มหายศ, สุกัญญา บูรณเดชาชัย, ศักดินา บุญเปี่ยม และ บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อใหม่กับภาพลักษณ์และความสนใจในการเลือกศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยบูรพาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัทธนัย ประสานนาม (2555, 3 สิงหาคม). เพศ ชาติพันธ์ และปัญหาเกียวกับอัตลักษณ์ในภาพยนตร์เรือง Touch of Pink. http:// www.midnigthuniv.org.

พีระ จีรโสภณ. (2553). การเลือกสรรและการแสวงหาข่าวสารวิชาหลักทฤษฎีการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สวรินทร์ เนื่องคำมา. (2558). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและปัจจัยทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติการมีส่วนร่วมบนสื่อออนไลน์และแนวโน้มในการใช้บริการพื้นที่ทางการตลาดด้วยตู้คอนเทนเนอร์. JC Journal ระดับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 38-56.

สุกัญญา บูรณเดชาชัย. (2561). วารสารศาสตร์หลอมรวม: แนวคิดหลักการและกรณีศึกษาในประเทศไทย. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สุจรรยา โชติช่วง. (2554). การศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. พิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

George and Simon. (1987). Identity Theory and Social Identity Theory Social. Psychology Quarterly, 63(3), 224-237.

Global WebIndex. (2561,13 กุมภาพันธ์). สถิติการใช้สื่อออนไลน์. https://www.gwi.com/reports/social.

Goffman, C. (1963). Approximation of non-parametric surfaces of finite area. Journal of Mathematics and Mechanics, 5(3), 737-745.