กลวิธีทางภาษาในโฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์

Main Article Content

กันติทัต การเจริญ
สิริวรรณ นันทจันทูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ปรากฏในโฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์ ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์จากแค็ตตาล็อกออนไลน์ ปี 2022 จากเว็บไซต์ทางการของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทย จำกัด กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจำนวน 80 ข้อความ บริษัทละ 40 ข้อความโฆษณา ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดของ Levinson (1983), Fowler (1991), Jank (1997), Panpothong  (2013), Sawasdee (2015), Kaewjunkate (2015), Angkapanichkit (2019) และ Rao (2021)


ผลการวิจัยพบว่า


โฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์พบกลวิธีทางภาษา 2 กลวิธี คือ 1) กลวิธีทางอรรถศาสตร์ ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ โดยกลวิธีการเลือกใช้ศัพท์พบกลวิธีย่อย ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์บ่งคุณภาพ การเลือกใช้ศัพท์ที่แสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้ศัพท์ที่สื่อถึงความสมบูรณ์แบบ และ 2) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ การใช้มูลบทและการกล่าวอ้าง โดยกลวิธีการกล่าวอ้างพบกลวิธีย่อย ได้แก่ การกล่าวอ้างเหตุผลและการกล่าวอ้างด้วยสถิติ กลวิธีทางภาษาที่พบนี้ทำหน้าที่สำคัญในการสื่อสาร คือ การโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารหันมาเลือกใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกรูปแบบไฮบริดซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหามลพิษจากการใช้รถยนต์ทางหนึ่ง

Article Details

How to Cite
การเจริญ ก., & นันทจันทูล ส. (2024). กลวิธีทางภาษาในโฆษณารถยนต์พลังงานทางเลือกในแค็ตตาล็อกออนไลน์. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 72–83. https://doi.org/10.14456/issc.2024.7
บท
บทความวิจัย

References

ชัยนันท์ ธันวารชร. (2560). การโฆษณาสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากรณีศึกษา ร้าน ฟาร์ม ดีไซน์ ไทยแลนด์. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนดล ชินอรุณมังกร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลระบบไฟฟ้า (EV). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภพ สวัสดี. (2558). วาทกรรมความเป็นผู้หญิงในโฆษณาสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมในนิตยสารสตรีของไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิพิธ โหตรภวานนท์ และวรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2557). กระบวนการยอมรับนวัตกรรมรถยนต์ระบบไฮบริดของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 5(2), 20-40.

วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา และธนพล เอกพจน์. (2564). กลวิธีทางภาษาในการโฆษณาอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 104-128.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2553). อุดมการณ์ความเป็นชายในวาทกรรมโฆษณาสินค้าและบริการสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2558). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวทางการศึกษาภาษาโฆษณาใน ภาษาไทย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 9(1), 57-74.

ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. (2565). “เกียรติและศักดิ์ศรีที่เหนือระดับ” : ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมธุรกิจรถยนต์ตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารอักษรศาสตร์, 51(2), 115-138.

ศิวรัฐ หาญพานิช. (2561). ความเป็นชายที่มีอำนาจนำในโฆษณารถยนต์กระบะของไทยที่ออกอากาศทางโทรทัศน์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 324-339.

สิริวรรณ นันทจันทูล และสุรีย์รัตน์ บำรุงสุข. (2565). ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม : เนื้อหาและการใช้ภาษาในข้อความโฆษณาที่ เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2563-2564. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Autolifethailand Online. (2565, 5 กุมภาพันธ์). สรุปยอดจองรถยนต์ทั้งหมดในงาน Motor Expo 2022.https://autolifethailand.tv/motor-expo-2022-booking-final/

Grandprix online. (2565, 2 กุมภาพันธ์). รถพลังงานทางเลือกรูปแบบไฟฟ้ามีอะไรบ้าง ?.https://www.grandprix.co.th/electric-car/

Honda. (2565, 25 ธันวาคม). รุ่นรถ catalog. https://www.honda.co.th/models

Toyota. (2565, 25 ธันวาคม). รุ่นรถ online catalogue. https://www.toyota.co.th/model-list

Fowler, R. (1991). Language in the news: Discourse and Ideology in the Press. Routledge.

Janks, H. (1997,5 January). Critical discourse analysis as a research tool. Universitat de Valencia.https://www.uv.es/gimenez/Recursos/criticaldiscourse.pdf

Levinson, S.C. (1983). Pragmatics. Cambridge University Press.

Rao, A. (2021). Deceptive claims using fake news advertising : The impact on consumers. Journal of Marketing Research, 59(3), 534-554. https://doi.org/10.1177/00222437211039804.