การศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

ยัซมี เจ๊ะเต๊ะ
ปรเมษฐ์ แสงอ่อน
วิไลลักษณ์ รักบำรุง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุ


            ผลการวิจัยพบว่า                                     


            ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายได้ร้อยละ 46.80 เมื่อทดสอบตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ผู้วิจัยอธิบายในรูปแบบของคะแนนดิบ พบว่า ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้มากที่สุดคือ ปัจจัยการวัดผลและการประเมินผล (ค่า B = .378, Sig. = .000) รองลงมาคือ ปัจจัยโครงสร้างองค์กร (ค่า B = .217, Sig. = .000) ปัจจัยการสนับสนุนของผู้นำองค์กร (ค่า B = .177, Sig. = .000) ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ค่า B = .115, Sig. = .000) และปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร (ค่า B =.088, Sig. = .017) ในขณะที่ตัวแปรที่ไม่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (ค่า B = -.048, Sig. = .081)      

Article Details

How to Cite
เจ๊ะเต๊ะ ย., แสงอ่อน ป., & รักบำรุง ว. (2024). การศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 27–39. https://doi.org/10.14456/issc.2024.3
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาพร พันธ์เทศ. (2560). วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดวงนภา เสมทับ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดฉะเชิงเทรา.

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร.

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา : หลักการ การประยุกต์ และกรณีศึกษา. เนติกุลการพิมพ์.

ภาคภูมิ มิ่งมิตร. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ของรัฐสภา. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 22-34.

บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ. (2547). การจัดการความรู้...จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

บดินทร์ วิจารณ์. (2550). การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). เอ็กซเปอร์เน็ท.

ฝ่ายบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2555, 23 กุมภาพันธ์). กรอบภาระงานและอัตรากำลัง.https://personnel.ssru.ac.th/useruploads/files/20170911/78ee9f0ab734280b4719b2a18cf3cfa78a5a891f.pdf

พระพรหมบัณฑิต. (2557). ธรรมราชา. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รุ่งรัศมี บุญดาว. (2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล. ลัคกี้บุ๊คส์.

รติมา ปลั่งกลาง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการจัดการความรู้บุคลากรสายวิชาการของศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วรัญญา ชื่นชม. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 12. [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สุทธิพร สายทอง. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกลุ่มภาคเหนือตอนบน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(2), 13-30.

สุมาลี บุญเรือง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารมจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 1-13.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้. โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์ (1996) จากัด.

สาวิตรี สกลเศรษฐ. (2561). การจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สัณหจุฑา ชมภูนุช. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกของพนักงานธนาคารในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิทธิกร ตานะโก. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษา :

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกลักษณ์ เอี่ยมประดิษฐ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Koontz and Weihrich. (1988). KM Leadership. http://kmleadership.weebly.com/

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. Oxford University Press.