การตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กฤชคุณ ผาณิตญาณกร
ธีรกัญญา ตั้งสุวรรณรังษี
สราวุธ เนียรวิฑูรย์
ศตวรรษ คันธจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยวิธีการคำนวณตัวอย่างของคอร์แครนและสุ่มตัวอย่างตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า  1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นด้วยของการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยี ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงความเสี่ยง ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ และด้านการนํามาใช้งานจริง มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยร่วมกันพยากรณ์ที่ร้อยละ 75.6 3) การตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย ด้านการสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค ด้านการทำให้ลูกค้าสนใจหรือชอบในตัวสินค้า ด้านการสร้างช่องทางให้ผู้บริโภคได้สอบถามข้อมูล ด้านการเข้าถึงการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และด้านการทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าซ้ำหรือการบอกต่อ มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ผาณิตญาณกร ก., ตั้งสุวรรณรังษี ธ., เนียรวิฑูรย์ ส., & คันธจันทร์ ศ. (2023). การตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(2), 25–36. https://doi.org/10.14456/issc.2023.22
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565, 3 กุมภาพันธ์). โครงการสร้างสังคมห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงวัย. http:// moph.go.th.

เจนจิรา รัตนเพียร. (2565). บทสัมภาษณ์การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคนโสดรุ่นใหม่. โรงแรมแอมบาสซาเดอร์. กรุงเทพมหานคร

ชเนตตี พุ่มพฤกษ์. (2564). การตลาดอัตโนมัติ: เครื่องมือสู่ความสำเร็จในธุรกิจสำหรับนักการตลาดยุคดิจิทัล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 23(1). 221-230.

ธนาภา หิมารัตน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงินบริบทธนาคารพาณิชย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สารัช สุธาทิพย์กุล. (2560). สภาพปัญหาและการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

สุมนา นุสรณ์. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัยกลุ่มเบบี้บูมเม. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทิพย์ ประทุม. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 6(1), 1-18.

เยาวภา จันทร์พวง. (2557). ลักษณะรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัยและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท วิตามินในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วสุธิดา นุริตมนต์ และ นันทพร ห้วยแก้ว. (2563). อิทธิพลของคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริม อาหารของผู้สูงวัย:การทดสอบเชิงประจักษ์ความเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้คุณค่า. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 58-71.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2561, 3 มกราคม). ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ. http://oryor.com.

Davis, F.D., Bagozzi, R.P. and Warshaw, P.R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 3(5), 982-1003.

Keller, K. L. (2003). Strategic brand management: Building, treasuring and managing brand Equity (2nd ed.). Prentice Hall.

W.G. Cochran. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons. Inc.